การป้องกัน ของ บอมบ์สูท

ชิ้นส่วนของบอมบ์สูททับซ้อนกับชิ้นวัสดุอื่น ๆ เพื่อการป้องกันสูงสุดสำหรับผู้สวมใส่ไม่ว่าจะหันหน้าไปทางวัตถุระเบิดหรืออยู่ห่างจากวัตถุระเบิด ชุดบอมบ์สูทสามารถป้องกันได้หลายสถาน มันสามารถหักเหหรือหยุดแรงกระแทกที่อาจมาจากวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง ประการที่สอง มันสามารถป้องกันโดยการหยุดคลื่นกระแทกจากการกระจายและการทำร้ายผู้สวมใส่ ซึ่งโดยปกติแล้ว เคฟลาร์, โฟม และพลาสติก ต่างมีลักษณะเป็นชั้นและปกคลุมด้วยวัสดุสารหน่วงไฟเพื่อให้สัมฤทธิ์ผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว

จนกระทั่งกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ชุดกันระเบิดของหน่วยอีโอดีได้ประกอบไปด้วยเคฟลาร์ และ/หรือแผ่นเกราะสำหรับหยุดยั้งแรงกระแทก อย่างไรก็ตาม ชุดกันระเบิดไม่ได้มีการป้องกันเมื่อเผชิญกับคลื่นกระแทกมากนัก ความเสียหายจากคลื่นกระแทกที่รู้จักกันมากที่สุดคือ “ปอดช้ำ” โดยปอด (และอวัยวะภายในอื่น ๆ) มักได้รับบาดเจ็บจากคลื่นกระแทกและมีเลือดออก แม้ว่าจะไม่ได้รับบาดเจ็บจากการทิ่มแทง แต่การบาดเจ็บภายในดังกล่าวก็สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 การวิจัยดำเนินการในสหราชอาณาจักรได้แสดงให้เห็นว่าสิ่งทอและแผ่นเกราะแข็งของชุดไม่ได้ป้องกันการบาดเจ็บที่ปอดจากการระเบิด[7] มันได้รับการค้นพบว่าความต้านทานเชิงซ้อนของเสียงสูงด้วยการหนุนของส่วนที่นิ่ม กับชั้นความต้านทานเชิงซ้อนของเสียงต่ำ (เช่น โฟมที่มีความหนาแน่นต่ำ) จะปกป้องการบาดเจ็บจากระเบิดได้ อย่างไรก็ดี มันได้แสดงให้เห็นว่าการทำความเข้าใจด้านค่าความถี่คลื่นกระแทกที่ใช้ในการทดลอง และทดสอบทางวัสดุซึ่งใส่เข้าไว้ด้วยกันนั้นมีความสำคัญ เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าสิ่งเหล่านี้มีประสิทธิภาพ

ใกล้เคียง