ประวัติ ของ บอมบ์สูท

ยุคอีโอดดีสมัยใหม่เริ่มต้นขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อกองทัพลุฟท์วัฟเฟของเยอรมัน ได้เพิ่มจำนวนระเบิดใส่ลงสู่แผ่นดินอังกฤษเป็นอย่างมาก จำนวนพลเรือนที่บาดเจ็บล้มตายเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการถ่วงเวลาของระเบิด ซึ่งมักจะทะลุลงไปในพื้นดินหลายฟุตหลังจากที่ถูกทิ้งลงมาจากเครื่องบิน เหล่าชายที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อปลดชนวนระเบิดต่างได้ทุ่มเทให้กับงานที่ต้องใช้ความพยายามอย่างหนัก[1] ในช่วงที่การออกแบบสายชนวนมีการเปลี่ยนแปลง, วัตถุตกค้างที่ยังไม่ระเบิด (ยูเอ็กซ์ดี) จำนวนมาก รวมถึงทหารได้เสียชีวิตหลายราย กระทั่งมีการกำจัดได้มากขึ้นโดยการออกแบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่

ในขณะที่สหรัฐฯ น่าจะมีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่สอง พวกเขาได้รับการร้องขอความช่วยเหลือจากอังฤษในการฝึกอบรมเหล่าพลเรือนอีโอดีในการทำลายล้างระเบิดตกค้างในเขตเมือง ผู้คนต่างยอมจ่ายเพื่อเรียนรู้ถึงชนวนแบบต่าง ๆ และการกำจัดจากการศึกษาดังกล่าว หลังจากเป็นที่ชัดเจนว่างานอีโอดีที่ดีที่สุดมาจากการจัดการของทหาร สหรัฐอเมริกาได้พยายามหลายวิธีในการจัดระเบียบบุคลากรอีโอดีที่จะช่วยตอบสนองความต้องการทั้งสำหรับการฝึกอบรมแบบเฉพาะเจาะจงและการใช้งานที่หลากหลาย[2][3]

ในภาพถ่ายของภารกิจแรกในการปลดชนวนระเบิดที่ตกค้าง[4] จะพบว่าผู้ปฏิบัติการไม่ได้สวมอุปกรณ์ป้องกันใด ๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว พวกเขามักจะสวมเสื้อที่สามารถรับมือกับความร้อนที่เกิดจากการใช้แรงกายจากการขุดโดยรอบวัตถุระเบิดก่อนที่พวกเขาจะทำการปลดชนวน โดยพื้นฐานแล้ว บุคคลผู้ทำการปลดชนวนระเบิดอาจประสบความสำเร็จ หรือประสบผลล้มเหลวที่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต

ชุดกันระเบิดของหน่วยอีโอดียุคแรกประกอบด้วยวัสดุประเภทเคฟลาร์ และ/หรือแผ่นเกราะที่ทำจากโลหะหรือพลาสติกเสริมแรงด้วยเส้นใย โดยมีวัตถุประสงค์คือปกป้องผู้สวมใส่ไม่ให้ได้รับบาดเจ็บ จากการผ่านทะลุของส่วนที่แตกออกมาจากวัตถุระเบิด ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้มีการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าวัสดุเหล่านี้เพียงอย่างเดียว ไม่ได้มีประสิทธิภาพต่อคลื่นกระแทกในตัวของมันเอง ซึ่งอาจทำให้ปอดฉีกขาด รวมถึงอาจได้รับบาดเจ็บภายในอย่างสาหัสในส่วนอื่น ๆ [5] ส่วนชุดสูทของหน่วยอีโอดีสมัยใหม่ มีชั้นของเคฟลาร์, การใส่แผ่นเหล็ก และโฟม เพื่อให้เกิดการป้องกันจากทั้งสะเก็ดที่แตกออกมา กับคลื่นกระแทกที่มีต่อชุดสูท

เจ้าหน้าที่อีโอดีขณะทำการตรวจสอบวัตถุระเบิด

ภัยคุกคามที่เกิดจากระเบิดแสวงเครื่อง หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าเป็นระเบิดไออีดี และอาจรวมถึงตัวกระทำทางสารเคมีหรือชีวภาพ สิ่งเหล่านี้ได้นำมาสู่ความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 ในการออกแบบที่เหมาะสมต่อชุดสูททำลายล้างวัตถุระเบิดรวมถึงหมวกนิรภัย ตัวอย่างเช่น บอมบ์สูทสมัยใหม่อาจป้องกันภัยระเบิดคุกคามธรรมดา ตลอดจนตัวกระทำทางสารเคมี/ชีวภาพ โดยได้รวมชั้นป้องกันสารเคมีเข้าไว้ด้วยกัน และหมวกนิรภัยที่เข้ากันได้กับเครื่องช่วยหายใจระบบบรรจุถังอากาศในตัว (เอสซีบีเอ)

ในระยะหลัง สถาบันการยุติธรรมแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ได้รับการสนับสนุนโครงการในการพัฒนามาตรฐานการทดสอบแห่งชาติสำหรับชุดกันระเบิดของหน่วยอีโอดีเพื่อให้เกิดการป้องกันที่เหมาะสม โดยชุดที่ได้รับ สามารถกล่าวได้ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน[6] โดยมีเป้าหมายที่จะมีวิธีในการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของการออกแบบที่แตกต่างกันกับภัยคุกคามที่คาดคิดและภัยคุกคามอื่นแต่ละรูปแบบ คล้ายกันกับมาตรฐานเอ็นไอเจที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในการทดสอบและเปรียบเทียบเกราะหรือวัสดุที่ใช้เพื่อหยุดภัยคุกคามจากวิถีกระสุน

นักพัฒนาจะต้องพิจารณามากขึ้นกว่าเพียงแค่การป้องกัน ตั้งแต่บุคคลที่ต้องปฏิบัติงานอย่างเคร่งเครียด ซึ่งต้องใช้ทักษะด้านกลไกที่มีความละเอียดบอบบางในขณะที่สวมใส่ชุดกันระเบิด และปัจจัยอื่นที่จะต้องพิจารณา ประกอบด้วย

  • การกันกระแทกกระดูกสันหลังและศีรษะ ในกรณีที่ผู้สวมใส่ได้ล้มลงเนื่องด้วยแรงระเบิด
  • การป้องกันความร้อน
  • การเคลื่อนไหวในการทำงานให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การจำกัดน้ำหนัก
  • การถอดอย่างรวดเร็ว เช่นในกรณีที่มีการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน
  • การขจัดไอน้ำออกให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้เกราะหน้ากระบังหมวกนิรภัยเกิดการขุ่นมัว

ใกล้เคียง