บาดแผลและแผล ของ บาดแผล

นอกเหนือจากคำว่า "บาดแผล" แล้ว ในทางด้านการแพทย์ยังปรากฏคำว่า "แผล" (Ulcer) โดย บาดแผล และ แผล นั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แผลอาจเกิดจากการหายไปหรือการแหว่งของเนื้อเยื่อที่บริเวณผิวหนังของร่างกาย หรือแผลที่ปรากฏในบริเวณเยื่อบุภายในร่างกาย ซึ่งแผลที่ปรากฏบริเวณผิวหนังเมื่อร่างกายเป็นฝี เป็นหนองแล้วเกิดการแตกของผิวหนัง เมื่อเลือดและหนองไหลออกมาจากฝีที่แตก ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นเป็นโพรงและเกิดเป็นแผลขึ้นมา หรือลักษณะของผิวหนังบริเวณร่างกายเมื่อเกิดการอักเสบ เนื้อบริเวณที่เกิดการอักเสบจะตายและเน่าเปื่อยหายไป เกิดเป็นรอยแหว่งบริเวณผิวหนังและกลายเป็นแผล หรือเมื่อร่างกายเกิดเป็นมะเร็งหรือเนื้องอก เมื่อเนื้อนั้นโตเต็มที่แล้วแตกออกกลายเป็นแผล

ในทางนิติวิทยาศาสตร์ บาดแผลสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด คือ[1]

  1. บาดแผลถลอก (Abrasion)
  2. บาดแผลฟกช้ำ (Contusion of bruise)
  3. บาดแผลถูกแทง (Stab wound)
  4. บาดแผลฉีกขาดขอบเรียบ (Cut or incised wound)
  5. บาดแผลฉีกขาดขอบไม่เรียบ (Lacerated wound)
  6. บาดแผลเกิดจากกระสุนปืน (Gunshot wound)