บานพับภาพกว่าสาม ของ บานพับภาพ

"ฉากแท่นบูชาเกนต์" เมื่อปิดด้านนอกจะเป็นคนละภาพจากด้านใน

บานพับภาพกว่าสาม (polytych) มาจากภาษากรีก "polu-" ซึ่งแปลว่า หลาย กับคำว่า "ptychē" ซึ่งแปลว่า พับ หมายถึงภาพเขียนที่เป็นแผ่นเชื่อมต่อกันที่เกินกว่าสามแผ่น

บานกลางของบานพับภาพแบบนี้จะเป็นภาพที่ใหญ่กว่าภาพอื่น ๆ ซื่งเรียกว่า "แผ่นภาพเอก" และ ภาพอื่น ๆ ที่ประกอบภาพใหญ่จะเรียกว่า "แผ่นภาพข้าง" หรือ "ปีก" บางครั้งบานพับภาพลักษณะเช่นนี้เช่นแผ่นภาพที่เกนต์ (Ghent) หรือที่อิสเซ็นไฮม์ (Isenheim) นี้จะสามารถจัดได้หลายวิธีทำให้เห็นภาพเขียนได้หลายแบบ

บานพับภาพลักษณะนี้นิยมกันมากในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ส่วนใหญ่จะออกแบบสำหรับฉากแท่นบูชาสำหรับวัดหรือมหาวิหาร ลักษณะนี้ก็เป็นที่นิยมกันช่างพิมพ์ "ukiyo-e" ในสมัยเอโดใน ประเทศญี่ปุ่น