บิกแบงนิวคลีโอซินทีสิส

ในการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ บิกแบงนิวคลีโอซินทีสิส (อังกฤษ: Big Bang nucleosynthesis; BBN) หรือ นิวคลีโอซินทีสิสเริ่มแรก เป็นการอธิบายถึงกระบวนการกำเนิดนิวเคลียสต่างๆ นอกเหนือไปจากนิวเคลียสของ H-1 (เช่น ไอโซโทปแสงของไฮโดรเจน ซึ่งนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนเดี่ยว) ระหว่างช่วงยุคต้นของการเกิดเอกภพ นิวคลีโอซินทีสิสแรกเริ่มนี้เกิดขึ้นในเวลาไม่กี่นาทีหลังจากเกิดบิกแบง เชื่อกันว่าเป็นต้นเหตุของการก่อตัวของไอโซโทปธาตุหนักของไฮโดรเจน ที่รู้จักกันในชื่อ ดิวเทอเรียม (H-2 หรือ D), ฮีเลียมไอโซโทป He-3 และ He-4, และ ลิเทียมไอโซโทป Li-6 และ Li-7 นอกจากนิวเคลียสที่เสถียรเหล่านี้ ยังมีพวกที่ไม่เสถียรอยู่ด้วย หรือพวกไอโซโทปกัมมันตรังสี (Radionuclide) เช่น ทริเทียม H-3, เบอริลเลียม Be-7 และ เบอริลเลียม Be-8 ไอโซโทปที่ไม่เสถียรเหล่านี้อาจเสื่อมสลายไปหรือรวมตัวเข้ากับนิวเคลียสอื่นๆ และกลายเป็นหนึ่งในบรรดาไอโซโทปเสถียร

แหล่งที่มา

WikiPedia: บิกแบงนิวคลีโอซินทีสิส http://astro.berkeley.edu/~mwhite/darkmatter/bbn.h... http://www.astro.ucla.edu/~wright/BBNS.html http://www.einstein-online.info http://www.einstein-online.info/en/spotlights/BBN/... http://prola.aps.org/abstract/PR/v73/i7/p803_1 http://prola.aps.org/abstract/PR/v74/i4/p505_2 http://arxiv.org/abs/astro-ph/0008495 http://arxiv.org/abs/astro-ph/0307244 http://arxiv.org/abs/astro-ph/0511534 http://arxiv.org/abs/astro-ph/9805156v1