ความปลอดภัย ของ บีกานามัยซิน

การเกิดพิษ

ผลการทดลองพบว่าความเข้มข้นของบีกานามัยซินรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อที่มีผลฆ่าหนูทดลองร้อยละ 50 ของหนูทดลองทั้งหมด (Lethal dose 50%; LD50)  คือ 110.5 และ 192 mg/kg ในหนูทดลองขนาดเล็ก (mice) และหนูทดลองขนาดใหญ่ (rat) ตามลำดับ ส่วน LD50 ของบีกานามัยซินรูปแบบรับประทานต่อหนูทดลองทั้งสองกลุ่มมีค่ามากกว่า 6000 mg/kg

ข้อห้ามใช้

บีกานามัยซิน ซัลเฟต มีข้อห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะความผิดปกติต่อไปนี้; ระบบทางเดินอาหารอุดตัน, ภาวะที่ทางเดินอาหารมีการบีบตัวน้อยกว่าปกติ, ผู้ที่มีการดูดซึมสารอาหารผิดปกติ, ภาวะไตวาย หากผู้ป่วยที่ได้รับยาบีกานามัยซินมีอาการและ/หรืออาการแสดงที่บ่งบอกได้ถึงการเกิดพิษต่อระบบการได้ยินและ/หรือต่อไตควรพิจารณาหยุดการใช้ยานี้ในผู้ป่วยดังกล่าวทันที[5][6]

ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ร่วมกับยาอื่นที่ก่อให้เกิดพิษต่อการได้ยินและไตเหมือนกัน เช่น ยาปฏิชีวนะอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์, กรดอีทาไครนิก เป็นต้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวร่วมกัน ต้องเฝ้าระวังและติดตามการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

อาการไม่พึงประสงค์

อาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับบีกานามัยซินที่เกิดขึ้นได้บ่อน ได้แก่ คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องเสีย และผื่น ส่วนการเกิดพิษต่อการได้ยินและไตนั้นจะพบการเกิดได้ง่ายในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับผิดปกติในระดับรุนแรง