นิเวศวิทยาและพฤติกรรม ของ บีเวอร์

ชีวิตครอบครัว

คู่ของบีเวอร์

พื้นฐานของบีเวอร์คือการมีชีวิตครอบครัวที่ประกอบด้วยเพศผู้ตัวเต็มวัยและเพศเมียตัวเต็มวัย[39]พวกมันสามารถมีลูกได้มากถึง 10 ตัว และถ้ามันยิ่งมีลูกมากพวกมันก็จะสร้างรังใหญ่ขึ้น[39]พวกมันส่วนมากจะรักเดียวใจเดียวแต่ถ้าคู่ของมันเสียชีวิตมันก็จะหาหรือมีคู่ใหม่อีก[39]นอกจากนี้ทั้งเพศผู้และเพศเมียจะมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูลูก และพวกมันทั้งสองจะทำเครื่องหมายและปกป้องอาณาเขตทั้งสร้างและซ่อมแซมเขื่อนและรังของพวกมัน[39]เมื่อลูกของพวกมันเกิดขึ้นมาตัวเมียจะคอยเลี้ยงดูลูกและตัวผู้จะปกป้องอาณาเขตและเมื่อพวกมันโตขึ้นพวกมันจะช่วยพ่อและแม่หาอาหารและซ่อมที่พักแต่ถึงอย่างนั้นพ่อและแม่จะทำงานส่วนพวกมันก็จะหาอาหารและเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิติในป่า[39]อีกทั้งพวกมันส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการเล่น และก็ยังคัดลอกเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่นั้นเป็นการเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิตอีกแบบหนึ่งแต่ถึงมันจะลอกเลียนแบบพ่อแม่พวกมันในตอนนี้ก็ยังไม่สามารถทำสิ่งที่พ่อแม่ทำได้จนกว่าพวกมันจะโตเต็มวัย

เมือบีเวอร์ที่อายุได้ 2 ปี พวกมันจะเก็บอาหารซ่อมแซมเขื่อนและบ้าน และยังช่วยแม่ดูแลพี่น้องของพวกมันอีกด้วย พวกบีเวอร์ที่อายุเยอะกว่านั้นจะรับหน้าที่ดูแลตัวที่เด็กกว่าซึ่งเป็นพฤติกรรมนี้เป็นเรื่องธรรมดาและเห็นได้จากสัตว์หลายชนิดเช่น ช้างเผือกและปลาโลมา[40]แม้ว่าพวกวัยอายุ2ปีเหล่านี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการมีชีวิตอยู่รอดของตัวที่มีอายุน้อยกว่าซึ่งยังดูแลตัวเองไม่ได้ทำให้พวกรุ่นพี่ขขวบเหล่านี้ต้องช่วยเหลือครอบครัวเวลาเกิดความแห้งแล้ง[39]เวลาพวกมันไปข้างนอกพวกมันจะไม่เดินไกลเกินอาณาเขตของพวกมันมาก[41]

บีเวอร์จะรับรู้กลิ่นญาติของมันด้วยการตรวจสอบความแตกต่างในองค์ประกอบของสารที่อยู่ตรงต่อมทางทวารหนัก ถ้าพวกมันเกี่ยวข้องกันก็จะมีกลิ่นของสารที่คล้ายกัน ทำให้วามสามารถในการรู้จักญาติเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพฤติกรรมทางสังคมของบีเวอร์[41]

อาณาเขต

บีเวอร์รักษาและปกป้องอาณาเขตซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับให้อาหารการทำรังและการผสมพันธุ์[39]พวกมันใช้พลังงานเยอะมากในการสร้างเขื่อนและทำความคุ้นเคยกับพื้นที่[42]บีเว่อร์ทำเครื่องหมายอาณาเขตของตนโดยการสร้างแท่งกิ่งที่ทำจากโคลนและคอสโตเรียม[43]ซึ่งคือสารจากปัสสาวะเล็ดลอดผ่านถุงละหุ่งบีเว่อร์ระหว่างกระดูกเชิงกรานและฐานของหาง[42]ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นเอาไว้ใช้ในการแบ่งแยกอาณาเขต[43]เมื่อตรวจพบกลิ่นอื่นในดินแดนของตนและารค้นพบผู้บุกรุกจะมีความสำคัญยิ่งกว่าอาหาร[43]เพราะว่าพวกมันลงไม่ลงแรงมากในการสร้างอาณาเขตของมันและทำให้มีแน้วโน้มให้เกิดการต่อสู้อีกด้วย[42]การเผชิญหน้าเหล่านี้มักมีความรุนแรงมากทำให้พวกมันต้องย้ำเตือนเครื่องหมายอาณาเขตของตนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยส่งสัญญาณให้ผู้บุกรุกทราบว่าผู้ครอบครองดินแดนมีพลังงานเพียงพอที่จะรักษาดินแดนของตนและสามารถป้องกันได้ดี ดังนั้นพื้นที่ที่มีจุดเครืองหมายมากจะมีการปะทะน้อยกว่าจุดที่ไม่มีการเตือนบอก[42][44]แต่พวกมันก็ยังมีเพื่อนบ้านเวลาพวกมันได้กลิ่นเพื่อนบ้านมันจะตอบสนองต่อการรุกรานของเพื่อนบ้านในอาณาเขตน้อยกว่าที่พวกมันทำกับคนแปลกหน้า[41]

อาหาร

บีเวอร์นั้นเป็นสัตว์กินพืชโดยอาหารของพวกมันคือเปลือกไม้,กิ่งไม้,ใบไม้ของต้นไม้จำพวกต้นเมเปิล, เบิร์ชและเชอร์รี่หรือกินรากของพืชน้ำจำพวกต้นกกและ รากบัวเป็นต้น[45][46]พวกมันสามารถกินได้ทุกส่วนของพืช โดยพืชส่วนใหญ่ที่พวกมันกินนั้นจะอยู่บริเวณแอ่งน้ำที่พวกมันทำรัง และยังมีการสังเกตอีกว่าบีเวอร์ยูเรเซียนั้นจะชอบกินเปลือกและเนื้อไม้ของต้นไม้จำพวกเบิร์ช ส่วนบีเวอร์อเมริกาเหนือนั้นจะชอบกินไม้จำพวกเบิร์ช, แอสเพน, เชอร์รี่และหรือไม้ชนิดอื่นๆในกลุ่มของเมเปิล[47]ซึ้งถึงแม้ว่าไม้ที่กล่าวมานั้นจะเป็นที่ชื่นชอบของพวกบีเวอร์แต่ถ้าเกิดบริเวณที่พวกมันอาศัยอยู่นั้นไม่มีต้นไม้พวกนี้บีเวอร์ก็จะกินไม้ชนิดอื่นแทนถึงแม้พวกมันจะไม่ชื่นชอบก็ตาม

บีเวอร์นั้นไม่จำศีลในฤดูหนาวโดยมันจะเก็บและกักตุนอาหารเอาไว้ที่ห้องเก็บอาหารในรังของมันซึ่งจะมีทางเข้าอยู่ใต้น้ำเหมือนห้องอื่นๆ พวกมันจะเก็บไม้กองเล็กๆไว้ด้านบนและวางไม้กิ่งใหญ่ๆไวด้านล่างเพื่อป้องกันการถูกขโมยหรือโดยน้ำพัดออกไป[47]ในฤดูหนาวพวกมันจะอยู่แต่ในรังซึ่งพวกมันจะไม่ออกไปไหนเลยดังนั้นอาหารที่พวกมันกักเก็บเอาไวนั้นสามารถเป็นแหล่งอาหารสำรองที่สามารถช่วยให้มันไม่ต้องออกไปหาอาหารด้านนอก

ส่วนมากรังบีเวอร์นั้นจะลอยน้ำและยังมีกิ่งไม้ที่ลอยอยู่บริเวณรังซึ่งจะทำให้น้ำบริเวณนั้นไม่เป็นน้ำแข็ง[48]ซึ่งการที่พวกมันทำเช่นนี้ก็เพราะเพื่อเอาไวเวลาอาหารสำรองที่พวกมันกักตุ้นไว้หมดพวกมันจะได้ออกมาหาอาหารได้

แหล่งที่มา

WikiPedia: บีเวอร์ http://www.tierradelfuego.org.ar/medioambiente/ush... http://www.beaverlumber.ca/ http://bestiary.ca/beasts/beast152.htm http://www.cmp-cpm.forces.gc.ca/dhh-dhp/his/ol-lo/... http://reg.gg.ca/heraldry/pub-reg/project.asp?lang... http://www.huffingtonpost.ca/2011/07/01/canadian-s... http://www.operationlifesaver.ca/general/2011/01/c... http://www.tpsb.ca/ http://www.animaltrial.com/beaver/beaverdamandcana... http://www.beaversinengland.com/downloads/Reintrod...