ความเป็นมา ของ ปฏิกิริยาเบลูซอฟ–จาโบทินสกี

ส่วนประกอบปฏิกิริยาบีซีที่ถูกผสมเปลี่ยนสีตามเวลา

การค้นพบของปรากฏการณ์นี้ถูกยกให้กับ บอริส เบลูซอฟ เค้ากล่าวว่า ประมาณช่วงปี พ.ศ. 2493-2503 (แหล่งข่าวได้ระบุวันที่ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2494 ถึง 2501) การผสมโพแทสเซียมโบรเมต ซีเรียม(IV) ซัลเฟต กรดมาโลนิก และกรดซิตริก ในกรดซัลฟิวริกที่ถูกเจือจาง อัตราส่วนของความเข้มข้นของอิออนของซีเรียม(IV)และซีเรียม(III) นั้นแกว่งไปมา ทำให้สีของสารละลายแกว่งไปมาระหว่างสีเหลืองและสีใส สิ่งนี้เกิดจากการที่อิออนของซีเรียม(IV) ถูกรีดิวซ์โดยกรดมาโลนิก จนกลายเป็นซีเรียม(III) ซึ่งถูกออกซิไดซ์โดยอิออนของโบรเมต(V) 

เบลูซอฟได้พยายามที่จะตีพิมพ์ผลที่เค้าพบถึงสองครั้ง ทว่ากลัวถูกปฏิเสธด้วยความที่เค้าไม่สามารถอธิบายผลของตัวเองได้เพียงพอที่บรรณาธิการของวารสารที่เค้าส่งจะพอใจ[2] จากนั้นนักชีวเคมีชาวโซเวียต ไซม่อน เอลเลวิช ชโนลล์ สนับสนุนให้เบลูซอฟสืบต่อความพยายามที่จะตีพิมพ์ผลงานของเขา ท้ายที่สุดผลงานของเขาก็ได้ตีพิมพ์บนวารสารที่ไม่มีชื่อเสียงและไร้การตรวจทาน[3]

หลักจากการตีพิมพ์ของเบลูซอฟ ชโนลล์ส่งโปรเจ็คต่อในปี 2504 แก่นักศึกษาบัณฑิตศึกษาที่ชื่อว่า อนาตอล จาโบทินสกี ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบลำดับของปฏิกิริยาอย่างละเอียด[4] แต่ทว่า ผลของงานนี้ยังไม่ได้เป็นที่รู้จักจนกระทั่งมีการสัมมนาทีปราก ในปี พ.ศ. 2511

ใกล้เคียง

ปฏิกิริยาต่อการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ปฏิกิริยานิวเคลียร์ ปฏิกิริยาต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ปฏิกิริยาต่อการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 ปฏิกิริยาของนานาชาติต่อสงครามอิสราเอล–ฮะมาส พ.ศ. 2566 ปฏิกิริยาของนานาชาติต่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ปฏิกิริยาฟอสฟอรีเลชัน ปฏิกิริยามายาร์ ปฏิกิริยาเคมี ปฏิกิริยาสะเทิน