การเจรจาและการลงมติเห็นชอบ ของ ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง

ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิมใช้เวลาจัดทำนานถึง 25 ปี แนวคิดในการจัดทำเริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2525 เมื่อคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติจัดตั้งคณะทำงานว่าด้วยปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิม (WGIP) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเป็นผลจากการศึกษาโดยผู้เสนอรายงานการประชุมพิเศษ José R. Martínez Cobo ว่าด้วยปัญหาการเลือกปฏิบัติที่ปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิมเผชิญ คณะทำงานดังกล่าว ซึ่งได้รับมอบหมายให้พัฒนามาตรฐานสิทธิมนุษยชนซึ่งจะคุ้มครองปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิม เริ่มต้นทำงานใน พ.ศ. 2528 โดยร่างปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิม ร่างปฏิญญาแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2536 และถูกเสนอต่อคณะอนุกรรมการว่าด้วยการป้องกันการเลือกปฏิบัติและการคุ้มครองชนกลุ่มน้อย ซึ่งให้การรับรองในปีถัดมา ระหว่างนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศได้เห็นชอบอนุสัญญาว่าด้วยชนพื้นเมืองและชนเผ่า พ.ศ. 2532

จากนั้นปฏิญญาฉบับร่างถูกส่งถึงคณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งจัดตั้งคณะทำงานขึ้นอีกชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาข้อความ อีกหลายปีต่อมา คณะทำงานนี้ประชุมกัน 11 ครั้งเพื่อพิจารณาและแก้ไขปรับปรุงร่างปฏิญญาและข้อกำหนดของร่าง ความคืบหน้าในร่างปฏิญญาเป็นไปอย่างล่าช้า เพราะมีบางรัฐกังวลเกี่ยวกับข้อกำหนดบางประการของปฏิญญา อาทิ สิทธิในการกำหนดการปกครองด้วยตนเองของปวงชนท้องถิ่น และการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีอยู่ในดินแดนดั้งเดิมของปวงชนท้องถิ่นนั้น[3] ปฏิญญารุ่นสุดท้ายได้รับความเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2549 โดยประเทศสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ 47 ประเทศ อันเป็นองค์กรสืบทอดจากคณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยมีรัฐสมาชิก 30 รัฐเห็นชอบ สองรัฐไม่เห็นชอบ สิบสองรัฐไม่ลงคะแนน และอีกสามรัฐขาดประชุม[4]

ต่อมา ปฏิญญาฯ ถูกส่งต่อไปยังสมัชชาใหญ่ ซึ่งได้มีการลงมติยอมรับข้อเสนอเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550 ระหว่างสมัยประชุมสามัญที่ 61 มี 143 ประเทศลงมติเห็นชอบ สี่ประเทศไม่เห็นชอบ และสิบเอ็ดประเทศงดออกเสียง[5] รัฐสมาชิกสี่ประเทศที่ลงมติไม่เห็นชอบมีออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา โดยทุกประเทศข้างต้นกำเนิดขึ้นเดิมเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร และมีประชากรอพยพส่วนใหญ่มิใช่ปวงชนท้องถิ่น และมีประชากรท้องถิ่นส่วนน้อย นับแต่นั้น ทั้งสี่ประเทศได้เปลี่ยนไปลงนามปฏิญญาดังกล่าว ประเทศที่ไม่ออกเสียงได้แก่ อาเซอร์ไบจาน บังกลาเทศ ภูฏาน บุรุนดี โคลอมเบีย จอร์เจีย เคนยา ไนจีเรีย สหพันธรัฐรัสเซีย ซามัวและยูเครน ส่วนรัฐสมาชิกอีก 34 รัฐไม่มาลงมติ[6] โคลอมเบียและซามัวได้เปลี่ยนไปลงนามเอกสารนับแต่นั้น[7]

ใกล้เคียง

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญากรุงเทพฯ ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง ปฏิญญามอสโก ปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษ ปฏิญญาพ็อทซ์ดัม ปฏิญญาพันมุนจ็อม ปฏิญญาสากลแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของเกษตรกร ปฏิญญา วิโรจน์แสงประทีป ปฏิญญาชูมาน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง http://www.un.org/News/Press/docs/2007/ga10612.doc... http://www.un.org/apps/news/story.asp?NewsID=19056... http://www.un.org/apps/news/story.asp?NewsID=23794... http://www.un.org/esa/socdev/unpfii/documents/FAQs... http://www.un.org/esa/socdev/unpfii/en/declaration... http://www.un.org/esa/socdev/unpfii/en/drip.html http://news.bbc.co.uk/2/hi/in_depth/6993776.stm