ปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษ

ปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษ หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ปฏิญญาร่วมของรัฐบาลสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยปัญหาฮ่องกง ลงนามโดยนายกรัฐมนตรีจ้าว จื่อหยางและมาร์กาเรต แทตเชอร์ แห่งรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2527 ในกรุงปักกิ่ง[1]ปฏิญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับด้วยการแลกเปลี่ยนตราสารให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 และจดทะเบียนจากทั้งจีนและอังกฤษที่สหประชาชาติเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2528 ในปฏิญญาร่วม รัฐบาลจีนแถลงว่า จีนได้ตัดสินใจคงการใช้อธิปไตยเหนือฮ่องกง (รวมทั้งเกาะฮ่องกง เกาลูน และดินแดนใหม่) ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และรัฐบาลอังกฤษแถลงว่า จะส่งมอบฮ่องกงคืนให้แก่จีนโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 รัฐบาลจีนยังได้แถลงนโยบายพื้นฐานเกี่ยวกับฮ่องกงในตราสารด้วยตามหลัก "หนึ่งประเทศ สองระบบ" ที่ตกลงกันระหว่างอังกฤษกับจีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกงจะไม่ใช่ระบบสังคมนิยมของจีน และระบบทุนนิยมแต่เดิมและวิถีชีวิตของฮ่องกงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเวลา 50 ปี จนถึง พ.ศ. 2590 ปฏิญญาร่วมยังกำหนดให้นโยบายพื้นฐานควรระบุไว้ในกฎหมายพื้นฐานฮ่องกง และระบบสังคมนิยมและนโยบายสังคมนิยมไม่ควรใช้ในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

ปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษ

เงื่อนไข ลงนามปฏิญญา
ภาคี  จีน
 สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ
มีผลวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ.1985
วันลงนาม 19 ธันวาคม ค.ศ.1984
ผู้ลงนาม จ้าว จื่อหยาง, นายกรัฐมนตรีจีน
มาร์กาเรต แทตเชอร์, นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร
สถานที่ ปักกิ่ง, ประเทศจีน

ใกล้เคียง

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญากรุงเทพฯ ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง ปฏิญญามอสโก ปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษ ปฏิญญาพ็อทซ์ดัม ปฏิญญาพันมุนจ็อม ปฏิญญาสากลแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของเกษตรกร ปฏิญญาชูมาน ปฏิญญา วิโรจน์แสงประทีป