เนื้อหา ของ ปฏิญญาสากลแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของเกษตรกร

ข้อ 3 ให้ความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติในหมู่เกษตรกรและบุคคลที่ทำงานในพื้นที่ชนบท

ข้อ 4 เรียกร้องให้ยุติการเลือกปฏิบัติต่อสตรี

ข้อ 5 เน้นสิทธิของเกษตรกรในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ ข้อ 18 ให้สิทธิจำเพาะในการเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัยและสุขภาพดี

ข้อ 6, 7, 8, 9 กล่าวถึงสิทธิในชีวิต ความปลอดภัย เสรีภาพในการเคลื่อนย้าย เสรีภาพในความคิด ความเห็นและการแสดงออก ตลอดจนเสรีภาพในการรวมตัว

ข้อ 10, 11, 12 เน้นสิทธิในการมีส่วนร่วม สิทธิในสารสนเทศ สิทธิได้รับความยุติธรรม

ข้อ 13, 14, 16 กล่าวถึงสิทธิในงาน และสิทธิในการทำงานในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและสุขภาพดี และมีสภาพแรงงานที่เหมาะสม ข้อ 16 เน้นสิทธิได้รับค่าจ้างเหมาะสม สิทธฺเลือกความเป็นอยู่ของตน และวิธีการผลิต

ข้อ 15 กล่าวถึงสิทธิในอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และเอกราชทางอาหาร

ข้อ 17 สิทธิในที่ดิน

ข้อ 19 สิทธิในเมล็ดพันธุ์

ข้อ 20 สิทธิในความหลากหลายทางชีวภาพ

ข้อ 21 สิทธิได้รับน้ำและระบบน้ำสะอาด

ข้อ 22 และ 23 สิทธิได้รับสุขภาพและหลักประกันสังคม

ข้อ 24 สิทธิในที่อยู่อาศัย

ข้อ 25 สิทธิในการศึกษา

ข้อ 26 สิทธิทางวัฒนธรรม ความรู้ประเพณี และการแสดงออกของวัฒนธรรมประเพณี

ใกล้เคียง

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญากรุงเทพฯ ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง ปฏิญญามอสโก ปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษ ปฏิญญาพ็อทซ์ดัม ปฏิญญาพันมุนจ็อม ปฏิญญาสากลแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของเกษตรกร ปฏิญญา วิโรจน์แสงประทีป ปฏิญญาชูมาน