การใช้ ของ ปฏิทินก่อนเกรโกเรียน

ปฏิทินก่อนเกรโกเรียนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างชัดเจนสำหรับวันที่ทั้งหมดก่อน ค.ศ. 1582 โดย ISO 8601:2004 (ข้อ 3.2.1) หากคู่แลกเปลี่ยนข้อมูลตกลงใจ ปฏิทินดังกล่าวถูกใช้มากที่สุดโดยนักวิชาการมายา[1] โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแปลงวันที่จากปฏิทินแบบรอบยาวมายา (ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล - คริสต์ศตวรรษที่ 10) อย่างไรก็ตาม ไม่ว่านักดาราศาสตร์หรือนักประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับมายาไม่ค่อยได้ใช้มันมากนัก

สำหรับปฏิทินเหล่านี้ สามารถแบ่งออกเป็นระบบการนับปีก่อนคริสต์ศักราชในสองวิธี นักบุญบีดและนักประวัติศาสตร์ในภายหลังไม่ถือว่าเลขศูนย์ในภาษาละติน nulla เป็นปี (ดู ค.ศ. 0) ดังนั้น ปีก่อนหน้า ค.ศ. 1 จึงเป็น 1 ปีก่อนคริสตกาล ในระบบนี้ 1 ปีก่อนคริสตกาลเป็นปีอธิกสุรทิน (เหมือนกับในปฏิทินก่อนจูเลียน) ในทางคณิตศาสตร์ เป็นการสะดวกมากกว่าที่จะถือว่ามี ค.ศ. 0 และกำหนดให้ปีก่อนหน้านั้นเป็นจำนวนเต็มลบ เพื่อจุดประสงค์เฉพาะในการอำนวยความสะดวกในการคำนวณตัวเลขของปีระหว่างจำนวนลบ (ปีก่อนคริสตกาล) และจำนวนบวก (คริสต์ศักราช) นอกจากนี้ยังใช้ในการนับปีทางดาราศาสตร์และในระบบวันที่มาตรฐานระหว่างประเทศ ISO 8601 ในระบบเหล่านี้ ถือว่า ค.ศ. 0 เป็นปีอธิกสุรทิน[2]

ถึงแม้ว่าปฏิทินจูเลียนในนามจะเริ่มใช้ตั้งแต่ 45 ปีก่อนคริสตกาล ปีอธิกสุรทินระหว่าง 45 ปี จนถึง 1 ปีก่อนคริสตกาลไม่เป็นระเบียบ ดังนั้น ปีอธิกสุรทินที่เกิดขึ้นทุก 4 ปีของปฏิทินจูเลียนจึงถูกใช้เฉพาะเพียงระหว่าง ค.ศ. 1 จนถึง ค.ศ. 1582 หรือหลังจากนั้นเท่านั้น ดังนั้น นักประวัติศาสตร์และนักดาราศาสตร์จึงมักจะใช้ปฏิทินจูเลียนที่แท้จริงระหว่างช่วงเวลานี้ แต่เมื่อวันที่ตามฤดูกาลเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น ปฏิทินก่อนเกรโกเรียนจึงถูกใช้เป็นบางครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกล่าวถึงวัฒนธรรมที่มิได้ใช้ปฏิทินจูเลียน

ปฏิทินก่อนเกรโกเรียนบางครั้งถูกใช้ในซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เพื่อทำให้ง่ายต่อการจัดระเบียบวันที่ในสมัยโบราณ ยกตัวอย่างเช่น ปฏิทินที่ใช้ใน MySQL[3], SQLite[4], PHP, CIM, Delphi และ COBOL