ตัวอย่าง ของ ปฏิยานุพันธ์

ฟังก์ชัน F(x) = x3/3 เป็นปฏิยานุพันธ์ของ f(x) = x2 เพราะว่าอนุพันธ์ของ x3/3 คือ x2 นอกจากนี้ เนื่องจากอนุพันธ์ของค่าคงตัวคือศูนย์ ทำให้ x3/3, x3/3 + 1, x3/3 − 2, ฯลฯ ต่างก็เป็นปฏิยานุพันธ์ของ f (x) จึงสรุปได้ว่า f (x) มีปฏิยานุพันธ์อยู่จำนวนมากมายไม่จำกัด เราจึงแทนปฏิยานุพันธ์ของ x2 ด้วย F (x) = (x3 / 3) + C; เมื่อ C เป็นค่าคงที่ใดๆ เรียก C ว่าค่าคงตัวของการหาปริพันธ์ กราฟของปฏิยานุพันธ์ของ f (x) เกิดจากการแปลงในแนวตั้งซึ่งกันแหละกัน แต่ละตำแหน่งในแนวตั้งของกราฟขึ้นอยู่กับค่าคงตัว  C

ในฟิสิกส์ การหาปริพันธ์ของความเร่งทำให้ได้ความเร็วบวกกับค่าคงตัว ค่าคงตัวนี้ก็คือพจน์ความเร็วตั้งต้น ซึ่งจะหายไปเมื่อเราหาอนุพันธ์ของความเร็ว เพราะว่าอนุพันธ์ของพจน์ที่คงตัวมีค่าเป็นศูนย์ โดยมันจะเป็นเช่นเดิมเมื่อหาปริพันธ์และอนุพันธ์ของการเคลื่อนที่ (ตำแหน่ง ความเร็ว ความเร่ง และอื่น ๆ)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปฏิยานุพันธ์ http://www.sparknotes.com/math/calcab/introduction... http://www.symbolab.com/solver/integral-calculator http://integrals.wolfram.com http://user.mendelu.cz/marik/maw/index.php?lang=en... http://www2.bakersfieldcollege.edu/resperic/Math6A... http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/integ.h... http://www-math.mit.edu/~djk/calculus_beginners/ch... http://wims.unice.fr http://wims.unice.fr/wims/wims.cgi?module=tool/ana... https://groups.google.com/group/sci.math/browse_fr...