บทนิยามและยุทธวิธี ของ ปฏิเสธนิยม

Didier Fassin นักมานุษยวิทยา ได้จำแนกระหว่าง การปฏิเสธ ที่ระบุเป็น "การสังเกตเชิงประจักษ์ว่าความจริงและความเป็นจริงถูกปฏิเสธ" และ ปฏิเสธนิยม ที่เขาระบุเป็น "อุดมการณ์ด้วยปฏิกริยาผ่านการปฏิเสธความจริงและความเป็นจริงอย่างเป็นระบบ"[10] บุคคลและกลุ่มสังคมที่ปฏิเสธข้อเสนอที่มีกระแสหลักและความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์ ถ้าไม่มีหลักฐาน ก็จะมีส่วนร่วมในการปฏิเสธผ่านการใช้กลวิธีทางวาทศาสตร์ที่ให้ภาพลักษณ์ของข้อโต้แย้งและอภิปรายนั้นถูกต้อง[6][7][11] นักปฏิเสธนิยมจะใช้กระบวนการที่ดำเนินการโดยใช้กลวิธีอย่างน้อยหนึ่งอย่างจากห้ากลวิธีต่อไปนี้ เพื่อรักษารูปลักษณ์ของข้อโต้แย้งด้วยกฎหมาย:[6][12]

  1. ทฤษฎีสมคบคิด – การปิดบังข้อมูลหรือการสังเกตการณ์ของฝ่ายตรงข้ามที่มีส่วนใน"การสมคบคิดที่ปิดบังความจริง"
  2. การเลือกเก็บเชอร์รี่ – การเลือกเอกสารวิจารณ์ที่มีความผิดปกติมาสนับสนุนแนวคิดของตน หรือใช้เอกสารที่ล้าสมัย มีข้อบกพร่อง และไม่น่าไว้วางใจ เพื่อทำให้ฝ่ายตรงข้ามดูเหมือนว่าใช้แนวคิดมาจากงานวิจัยที่ไม่ค่อยมีน้ำหนัก Diethelm และ McKee (2009) กล่าวไว้ว่า "นักปฏิเสธนิยมมักจะไม่ถูกขัดขวางโดยการแยกทฤษฎีอย่างสุดขั้ว แต่ให้มองมันเป็นเครื่องบ่งชี้ความกล้าหาญทางปัญญาของพวกเขาในการต่อต้านหลักการดั้งเดิมส่วนใหญ่และความถูกต้องทางการเมือง"[6]
  3. ผู้เชื่ยวชาญเท็จ – การจ่ายเงินให้กับผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นหรือสาขาอื่น ๆ เพื่อยืมหลักฐานหรือความน่าเชื่อถือ สิ่งนี้มักควบคู่กับการกีดกันผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยที่แท้จริง[6]
  4. การย้ายเสาประตู – การปิดบังหลักฐานที่นำเสนอเพื่อตอบสนองต่อข้อเรียกร้องเฉพาะโดยการเรียกร้องหลักฐานอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง (มักไม่สามารถบรรลุผลได้)
  5. ตรรกะวิบัติอื่น ๆ – มักมีอุปมาเทียม, การอุทธรณ์โดยผล, หุ่นฟาง หรือเฮอร์ริงแดง (red herring) อย่างน้อยหนึ่งครั้งหรือมากกว่า

ยุทธวิธีหลักของปฏิเสธนิยมมีทั้งบิดเบือนหลักฐาน, ความเท่าเทียมกันเท็จ, ความจริงครึ่งหนึ่ง และแต่งเรื่องทั้งหมด[13][14][15] Taner Akçam นักประวัติศาสตร์กล่าวว่านักปฏิเสธนิยมมักถูกเชื่อว่าเพิกเฉยต่อข้อเท็จจริง แต่ที่จริงแล้ว "มันอยู่ในอาณาเขตที่คลุมเครือระหว่างข้อเท็จจริงและความจริงที่ปฏิเสธนิยมเจริญงอกงาม ปฏิเสธนิยมรวบรวมข้อเท็จจริงของตัวเองและมีความจริงในแบบตนเอง"[16]

Alex Gillespie (2020) จากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน ได้มุ่งเน้นไปที่กลวิธีเชิงวาทศิลป์ซึ่งบรรลุการปฏิเสธในภาษา[17] โดยได้ทบทวนกลยุทธ์การป้องกันทางภาษาและเชิงปฏิบัติเพื่อปฏิเสธข้อมูลที่ก่อกวนผ่านการแบ่งยุทธวิธีเป็นแนวป้องกัน 3 ระดับ:

  1. หลีกเลี่ยง – แนวป้องกันแรกต่อข้อมูลก่อกวนคือหลีกเลี่ยงมัน
  2. ทำลายความชอบธรรม – แนวป้องกันที่สองคือโจมตีผู้ส่งสารด้วยการทำลายความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มา
  3. จำกัด – แนวป้องกันสุดท้าย ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือห้ามข้อมูลก่อกวน ก็ต้องหาเหตุผลและจำกัดผลกระทบของแนวคิดที่ก่อกวน

ใน ค.ศ. 2009 Michael Specter ระบุกลุ่มปฏิเสธนิยมเป็น "เมื่อส่วนสังคมทั้งหมด มักดิ้นรนจากการเปลี่ยนแปลงที่กระทบกระเทือนจิตใจ หันหลังให้กับความเป็นจริงเพื่อสนองต่อคำโกหกที่สะดวกสบายมากกว่า"[18]