ประวัติ ของ ปยะตะ

ภาพจิตรกรรมฝาผนังปยะตะก่ออิฐถือปูนในเมืองอังวะ

การใช้ปยะตะเริ่มแรกในสถาปัตยกรรมพม่ามีตัวอย่างมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรพุกาม[3] ตัวอย่างโดดเด่นที่มีลักษณะเป็นปยะตะในยุคนี้ เช่น อานานดาพะย่า วัดกอด่อปะลีน

ในพม่าก่อนยุคอาณานิคม ปยะตะเป็นส่วนสำคัญในอาคารของราชวงศ์ เป็นสัญลักษณ์ของดาวดึงส์สวรรค์ของชาวพุทธ เหนือบัลลังก์หลักในท้องพระโรงมีปยะตะเก้าชั้น โดยส่วนยอดสื่อถึงเขาพระสุเมรุ (မြင်းမိုရ်) และชั้นล่างหกชั้นสื่อถึงที่อยู่ของเหล่าเทวดาและมนุษย์[4] นอกจากนี้ ประตูเมืองทั้งสิบสองแห่งของเมืองหลวงพม่ายังประดับด้วยปยะตะ โดยประตูหลักที่ใช้โดยราชวงศ์มีห้าชั้น[5]

พม่าก่อนยุคอาณานิคมมีกฎหมายป้องกันความฟุ่มเฟือย จำกัดการใช้ปยะตะไว้เฉพาะอาคารของราชวงศ์และทางศาสนาเท่านั้น[6] และมีการควบคุมจำนวนชั้นตามระดับชั้นยศ[7] ปยะตะเก้าชั้นสงวนไว้สำหรับกษัตริย์แห่งอาณาจักร โดยที่เจ้าฟ้าประเทศราชสำคัญ มีสิทธิใช้ปยะตะเจ็ดชั้น[8]