สมัยคลาสสิก ของ ประติมากรรมคลาสสิก

ส่วนหนึ่งของ “ประติมากรรมหินอ่อนเอลกิน

สมัยคลาสสิกเป็นสมัยที่ลักษณะของทั้งรูปทรงและการใช้สอยของประติมากรรมเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การวางท่าเพิ่มความเป็นธรรมชาติมากขึ้น เช่นที่เห็นในประติมากรรม “คนขับรถม้าแห่งเดลฟี” (File:AurigaDelfi.jpg ภาพ-Charioteer of Delphi) และความเชี่ยวชาญทางเทคนิคของประติมากรกรีกในการสร้างรูปทรงของร่างกายของมนุษย์ในการวางท่าต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น ราว 500 ก่อนคริสต์ศักราชประติมากรรมก็เริ่มจะเป็นรูปแบบของมนุษย์เดินดิน เช่นประติมากรรมของ “ฮาร์โมเดียสและอริสโทเจอิทอน”(ภาพ-Harmodius and Aristogeiton) ที่ตั้งอยู่ในกรุงเอเธนส์ที่เป็นประติมากรรมของชายสองคนผู้ทำการโค่นทรชนของไพซิสทราทัส ฮิปปาร์คัส ผู้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อปราชาธิปไตย ประติมากรรมชิ้นนี้จึงถือว่าเป็นอนุสาวรีย์สำหรับสาธารณชนของบุคคลจริงอนุสาวรีย์แรกในประวัติศาสตร์

เมื่อศิลปินกรีกเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับกายวิภาคและการเคลื่อนไหวของร่างกาย ก็พบว่ามนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่มักจะ “ย้ายน้ำหนัก” (weight shift) หรือเป็น “รูปตริภังค์[1][2] (Contrapposto) เมื่อยืน

ประติมากรรมกรีกชิ้นแรกที่เป็นท่าตริภังค์คือประติมากรรมชิ้นที่มีชื่อเสียงชื่อ “หนุ่มคริทิออส” (ภาพ-Kritios Boy) ที่สร้างมาตั้งแต่ราว 480 ก่อนคริสต์ศักราช “รูปตริภังค์” ไม่นานก็กลายมาเป็นองค์ประกอบหรือ “กฎ” (Canon) อันสำคัญในการสร้างงานประติมากรรม “โดริโฟรอส” (Doryphoros) หรือ “คนถือหอก” ที่ใช้การวางท่าตริภังค์อย่างมีพลังเป็นอันมากของการสร้างความสมดุลเป็นอย่างดีระหว่างแขนขาที่ยืนและแขนขาที่เคลื่อนไหว

ประติมากรรมส่วนใหญ่ของยุคนี้สร้างขึ้นเพื่อแสดงการสำนึกบุญคุณแด่เทพเจ้าผู้ทรงช่วยนำความสำเร็จมาให้, เพื่อช่วยให้นำโชคลาภที่จะตามมาในอนาคต และ เพื่อให้เทพเจ้าทราบว่ายังคงมีความเคารพอยู่ เทวสถานของกรีกในยุคนี้ต่างก็สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ตั้งของรูปสักการะขนาดใหญ่เหล่านี้ ชาวกรีกเชื่อว่าการตั้งเทวสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ไว้ ณ ที่ใดก็จะทำความพึงพอใจให้แก่เทพเจ้า ณ ที่นั้น เทพเจ้ากรีกเป็นเทพเจ้าที่มาจากตำนานอันลึกลับที่มีรากฐานมาจากเรื่องราวของมนุษย์จริงซึ่งทำให้เป็นเรื่องราวผสมผสานระหว่างมนุษย์/เทพที่บางครั้งแทบจะแยกไม่ออก ฉะนั้นการสร้างประติมากรรมที่เหมือนคนจริงจึงเกิดขึ้นได้ ประติมากรรมส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นประติมากรรมที่เป็นสัญลักษณ์ของตำนานเทพ, ตัวแทน (archetype) หรือ วัตถุประสงค์ของชีวิต

ระหว่างสมัยคลาสสิกประติมากรมิได้จะเพียงแต่จะสร้างงานสำหรับเทวสถานเท่านั้น แต่ยังสร้างงานสำหรับที่เก็บศพเพื่อเป็นการสดุดีผู้ที่เป็นที่รักผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว ประติมากรรมประเภทหลังนี้มักจะวางท่าที่สบายๆ นักกีฬาผู้ประสบความสำเร็จ หรือ ครอบครัวผู้มีฐานะมั่งคั่งก็มักจะจ้างให้สร้างประติมากรรมของตนเองสำหรับเทวสถานเพื่อเป็นการแสดงการสักการะต่อเทพเจ้า ในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราชภาพเหมือนก็เริ่มมีความนิยมกันมากขึ้น รูปปั้นครึ่งตัวของนายพล, นักปรัชญา และ ผู้นำทางการเมืองก็เริ่มปรากฏให้เห็นกันบ้าง

งานที่มีคุณภาพสูงของกรีกเป็นที่สนใจของชาวอิตาลี และมีอิทธิพลต่อทั้งงานศิลปะของอีทรัสคันและต่อมาโรมันโบราณ ความตื่นตาตื่นใจต่องานศิลปะกรีกของโรมันมีความสำคัญไม่แต่เพียงการถ่ายทอดศิลปะให้แก่วัฒนธรรมอีกวัฒนธรรมหนึ่งแต่ยังเป็นการ “ต่ออายุ” ของประติมากรรมกรีกอีกด้วย เพราะประติมากรรมกรีกที่ยังมีเหลือให้เห็นส่วนใหญ่แล้วเป็นงานก็อปปีของงานต้นฉบับของประติมากรรมสัมริดของกรีก เพราะสัมริดเป็นโลหะมีค่างานสัมริดเดิมส่วนใหญ่ต่างก็ถูกหลอมไป งานสัมริดของแท้ถ้าพบก็จะพบอยู่ก้นทะเลกับเรือแตก

แต่ประติมากรรมกรีกมีการแกะสลักหินอ่อน และงานประติมากรรมกรีกคลาสสิกที่ทำด้วยหินอ่อนยังคงมีหลงเหลืออยู่ให้เห็น เช่น “ประติมากรรมหินอ่อนเอลกิน” หรือ “ประติมากรรมหินอ่อนพาเธนอน” ที่ยังตั้งอยู่ในสถานที่ที่ติดตั้งไว้แต่เดิมมาจนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก่อนที่จะถูกขนย้ายไปยังสหราชอาณาจักร และประติมากรรมแกะหินอ่อนของกรีกที่ยังหลงเหลืออยู่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรม

ใกล้เคียง

ประติมากรรมคลาสสิก ประติมากรรมไทย ประติมากรรม ประติมานวิทยา ประติภา ปาฏีล ประติมากรรมหินแดแกบาลุส ประติมากรรมเฉพาะหัว ประติมากรรมจลดุล ประติมากรรมดิจิทัล ประติมากรรมกอธิค