อิทธิพล ของ ประติมากรรมคลาสสิก

ออกัสตัสแห่งพรีมาพอร์ตา” ประติมากรรมแกะสลักหินอ่อนของจักรพรรดิออกัสตัส ซีซาร์, คริสต์ศตวรรษที่ 1. พิพิธภัณฑ์วาติกัน

ประติมากรรมกรีก-โรมันมีอิทธิพลต่อศิลปะตะวันตกอย่างลึกซึ้ง ในการวางรากฐานของแนวโน้มในการสร้างงานศิลปะในเชิงสัจนิยม ความคงทนของงานศิลปะที่ตกค้างมาให้คนรุ่นหลังให้เห็นทำให้กลายเป็นแหล่งข้อมูลของศิลปินของหลายวัฒนธรรมหลายสมัยต่อมาทั้งในยุโรปและในเอเชีย และ ในปัจจุบันทั้งโลก

ขณะที่ศิลปะคลาสสิกค่อยลดความนิยมกันไปในยุโรปหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันในปี ค.ศ. 476 แล้ว งานศิลปะคลาสสิกก็หันกลับมาเป็นที่นิยมกันอีกครั้งหนึ่งอย่างจริงจังเมื่อต้นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการรื้อฟื้นความนิยมในศิลปะคลาสสิกกันขึ้นอีกครั้งคือโดนาเทลโล ประติมากรผู้อื่นเช่นไมเคิล แอนเจโลก็สร้างงานประติมากรรมที่อาจจะถือกันว่าเป็นงานศิลปะคลาสสิก ศิลปะคลาสสิกสมัยใหม่ตรงกันข้ามกับศิลปะคลาสสิกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตรงการเน้นความเป็นธรรมชาติ เช่นในงานประติมากรรมโดยอองตวน-หลุยส์ บารี (Antoine-Louis Barye) หรือ ความเป็นนาฏกรรมในงานของ ฟรองซัวส์ รูด (François Rude) หรืองานเชิงอารมณ์ในงานของ ฌอง บัพทิสต์ คาร์พูซ์ (Jean Baptiste Carpeaux) หรือ เชิงโอ่อวดอลังการในงานของ เฟรเดอริค เลห์ทัน บารอนเลห์ทันที่ 1 (Frederic Leighton, 1st Baron Leighton) เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประติมากรรมคลาสสิกก็แยกออกเป็นหลายสาขา แต่การศึกษาจากแบบที่มีชีวิตและการศึกษาแบบหลังยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาก็ยังคงเป็นรากฐานที่ปฏิบัติกันอยู่

ใกล้เคียง

ประติมากรรมคลาสสิก ประติมากรรมไทย ประติมากรรม ประติมานวิทยา ประติภา ปาฏีล ประติมากรรมหินแดแกบาลุส ประติมากรรมจลดุล ประติมากรรมเฉพาะหัว ประติมากรรมตะวันออก ประติมากรรมดิจิทัล