อำนาจและหน้าที่ ของ ประธานศาลสูงสุดสหรัฐ

จอห์น มาร์แชล ประธานศาลสูงสุดคนที่สี่ และอยู่ในตำแหน่งนานที่สุด

นอกจากอำนาจและหน้าที่อย่างตุลาการสมทบในศาลสูงสุดแล้ว ประธานศาลสูงสุดยังมีอำนาจหน้าที่อันพิเศษบางประการอีก คือ

การดำเนินคดีอาญาต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

รัฐธรรมนูญสหรัฐ หมวด 1 มาตรา 3 ว่า ในคดีอาญาต่อประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งดำเนินโดยวุฒิสภานั้น ให้ประธานศาลสูงสุดนั่งเป็นประธาน

ในประวัติศาสตร์ มีการดำเนินคดีอาญาต่อประธานาธิบดีมาแล้วสองครั้ง ประธานศาลสูงสุดที่ได้นั่งเป็นประธาน คือ แซลมอน พี. เชส (Salmon P. Chase) และ วิลเลียม เรห์นควิสต์ (William Rehnquist) โดยเชสออกนั่งบังลังก์ใน ค.ศ. 1868 สำหรับคดีของประธานาธิบดี แอนดรูว์ จอห์นสัน (Andrew Johnson) และเรห์นควิสต์ออกนั่งบัลลังก์ใน ค.ศ. 1999 สำหรับคดีของประธานาธิบดี บิล คลินตัน (Bill Clinton)

ความอาวุโส

ประธานศาลสูงสุดถือว่าเป็นตุลาการที่อาวุโสสูงสุดในประเทศ ไม่ว่าอันที่จริงแล้วจะเคยดำรงตำแหน่งทางตุลาการมามากน้อยเพียงไรก็ตาม เพราะฉะนั้น ในการประชุมปรึกษาคดีทั้งปวง เขาจึงนั่งเป็นประธาน และโดยที่ปรกติ เขามีสิทธิแสดงความคิดเห็นก่อนเพื่อน เขาจึงมีบทบาทในการกำหนดกรอบการประชุมปรึกษาคดี

ประธานศาลสูงสุดยังกำหนดระเบียบวาระการประชุมของทุกสัปดาห์ ซึ่งมีการพิจารณาคำร้องขอให้มีคำสั่งเรียกสำนวนจากศาลล่างขึ้นมา เพื่อวินิจฉัยว่าจะรับหรือจะยกคดีใด ๆ

แม้ว่ามีความอาวุโสและเกียรติภูมิที่เพิ่มเข้ามาแล้ว คะแนนเสียงของประธานศาลสูงสุดไม่มีค่ามากกว่าของตุลาการสมทบในศาลสูงสุดคนอื่น ๆ เขาไม่มีอำนาจกลับคำพิพากษาหรือการตีความของตุลาการสมทบในศาลสูงสุดคนอื่น ๆ กับทั้งไม่มีสิทธิยุ่งเหยิงกับ (tamper with) ตุลาการทั้งหลายเลย อย่างไรก็ดี ในฐานะที่มีอาวุโสสูงสุด ถ้าเขาอยู่ฝ่ายเสียงข้างมาก เขาจึงชอบจะกำหนดให้ตุลาการคนใดรับผิดชอบเขียนคำพิพากษากลางของศาล และเขาอาจกำหนดให้ตนรับหน้าที่นั้นเองก็ได้ ในหลาย ๆ กรณี ตุลาการสองคนอาจเขียนคำพิพากษาแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงได้ แม้ว่าอยู่ฝ่ายเสียงข้างมากเหมือนกัน และคำพิพากษากลางนี้จะกลายเป็นบรรทัดฐานสำหรับศาลล่างในการวินิจฉัยคดีสืบไปในอนาคต

คำสัตย์ปฏิญาณเข้ารับตำแหน่ง

จอห์น จี. รอเบิตส์ (สองจากซ้าย) ให้สัตย์ปฏิญาณเข้ารับตำแหน่งประธานศาลสูงสุดสูง ณ ทำเนียบขาว ใน ค.ศ. 2005 ต่อหน้า จอห์น พอล สตีเวนส์ (ขวาสุด) ตุลาการอาวุโสสูงสุด โดยเจน ภริยาของจอห์น (ชุดแดง) ถือไบเบิล และประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช (ซ้ายสุด) ร่วมเป็นสักขีพยาน

ประธานศาลสูงสุดเป็นประธานในพิธีให้สัตย์ปฏิญาณเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดี โดยเขาจะถามให้ประธานาธิบดียืนยันสัตย์ปฏิญาณ นี้เป็นประเพณี มากกว่าเป็นข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติให้ประธานาธิบดีต้องกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณตนต่อหน้าผู้ใดโดยเฉพาะ เพียงระบุว่าให้ประธานาธิบดีสาบานตนเมื่อเข้ารับตำแหน่งเท่านั้น

ถ้าประธานศาลสูงสุดไม่อาจเป็นประธานในพิธีดังกล่าวได้ ตุลาการศาลสูงสุดคนที่มีอาวุโสถัดลงมาจะปฏิบัติหน้าที่แทน ซึ่งเคยมีมาแล้วเจ็ดครั้ง คือ[4]

นอกจากนี้ ประธานศาลสูงสูดยังเป็นประธานในพิธีให้สัตย์ปฏิญาณเข้ารับตำแหน่งของตุลาการสมทบในศาลสูงสุดที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ด้วย ส่วนประธานศาลสูงสุดเอง โดยปรกติ จะให้สัตย์ปฏิญาณต่อหน้าตุลาการสมทบในศาลสูงสุดที่มีอาวุโสมากที่สุด

อำนาจและหน้าที่อย่างอื่น

ประธานศาลสูงสุดยัง

ประธานศาลสูงสุด และตุลาการทั้งหลายในองค์กรตุลาการของสหรัฐอเมริกา ไม่ต้องห้ามดำรงตำแหน่งอื่น ๆ ต่างจากสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่รัฐธรรมนูญห้ามดำรงตำแหน่งใด ๆ เพื่อแสวงหาผลกำไรระหว่างดำรงสมาชิกภาพในสภานั้น ๆ ประธานศาลสูงสุดจอห์น เจย์ เคยเป็นทูตในการเจรจาสนธิสัญญาเจย์ (Jay Treaty) หรือ "สนธิสัญญาแห่งลอนดอน ค.ศ. 1794" (Treaty of London, 1794) และเอิร์ล วาร์เรน เคยเป็นประธานกรรมการสอบสวนการลอบฆ่าประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี

ใกล้เคียง

ประธานาธิบดีสหรัฐ ประธานรัฐสภาไทย ประธานาธิบดีเม็กซิโก ประธานาธิบดีเปรู ประธานาธิบดีลาว ประธานาธิบดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประธานศาลสูงสุดสหรัฐ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส