ประมวลกฎหมายไทโฮ

ประมวลกฎหมายไทโฮ (ญี่ปุ่น: 大宝律令 Taihō-ritsuryō) เป็นประมวลกฎหมายญี่ปุ่นเพื่อปรับปรุงโครงสร้างราชการ ตราขึ้นในปีไทโฮที่ 2 (ค.ศ. 702) ปลายยุคอาซูกะประมวลกฎหมายไทโฮตราขึ้นตามรับสั่งของจักรพรรดิมมมุ โดยประยุกต์จากระบบกฎหมายจีนแห่งราชวงศ์ถัง[1] เชื่อกันว่า เอกสารหลักอันเป็นที่มาของประมวลกฎหมายไทโฮ คือ ประมวลกฎหมายหย่งฮุย (永徽律令) ที่จักรพรรดิถังเกาจงทรงตราขึ้นใน ค.ศ. 651 ส่วนการยกร่างประมวลกฎหมายไทโฮนั้น มีผู้ควบคุม คือ เจ้าชายโอซากาเบะ, ฟูจิวาระ โนะ ฟูฮิโตะ, และอาวาตะ โนะ มาฮิโตะ[1]การตราประมวลกฎหมายไทโฮถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์แรก ๆ ที่ทำให้แนวคิดของลัทธิขงจื๊อมาหลอมรวมอยู่ในจริยศาสตร์ญี่ปุ่น ต่อมาในยุคนาระ มีการชำระประมวลกฎหมายไทโฮให้สอดรับกับประเพณีญี่ปุ่นและความจำเป็นบางประการในทางราชการ ฉบับที่ชำระใหม่นี้เรียกว่า "ประมวลกฎหมายโยริ" ซึ่งยกร่างสำเร็จใน ค.ศ. 718[1]ประมวลกฎหมายไทโฮมีลักษณะสำคัญสองประการที่แตกต่างจากระบบจีน ประการแรก กำหนดให้ตำแหน่งและสถานะทางราชการมาจากการสืบตระกูล ขณะที่ระบบจีนมาจากการสอบขุนนาง อีกประการหนึ่ง ยึดถือแนวคิดว่า พระราชอำนาจมาจากการสืบเชื้อสายกษัตริย์ มิได้มาจากอาณัติสวรรค์เหมือนจีน

ใกล้เคียง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลเรื่องปรัมปรากรีก ประมวลเรื่องปรัมปรานอร์ส ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ประเทศไทย) ประมวล สภาวสุ ประมวลเรื่องปรัมปราโรมัน ประมวล กุลมาตย์ ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ ประมวนศักดิ์ โพธิ์สุวรรณ ประมวลกฎหมายนโปเลียน