ประวัติศาสตร์ ของ ประวัติศาสตร์ลักเซมเบิร์ก

ประวัติศาสตร์ก่อน ค.ศ. 963

การตั้งถิ่นฐานในยุคแรกในบริเวณที่ในปัจจุบันคือนครลักเซมเบิร์กก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 10 โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่โบสถ์แซงต์ซาวัวร์ (ปัจจุบันโบสถ์เซนต์ไมเคิล) ที่สร้างในปี ค.ศ. 987

หลักฐานอ้างอิงแรกที่ทราบเกี่ยวกับดินแดนของลักเซมเบิร์กปัจจุบันบันทึกโดยจูเลียส ซีซาร์ใน "Commentarii de Bello Gallico" (ไทย: บันทึกความเห็นเกี่ยวกับสงครามกอลลิค)[2] นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่อธิบายที่มาของคำว่า "ลักเซมเบิร์ก" ว่ามาจากคำว่า "Letze" ที่แปลว่าป้อมปราการ[3] ที่อาจจะพาดพิงไปถึงซากหอยามของโรมัน หรือถึงที่ตั้งถิ่นฐานอย่างหยาบๆ ของชนสมัยยุคกลางตอนต้น

เคาน์ตี (ค.ศ. 963 - ค.ศ. 1353)

ในปี ค.ศ. 963 เคานต์ซีกฟรีดแห่งลักเซมเบิร์กแห่งราชวงศ์อาร์แดนน์ทำการซื้อที่ดินจากอธิการวิแครัสแห่งแอบบีแซงต์มักซิแมง ที่ดินดังกล่าวอยู่ในบริเวณที่เชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของซากป้อมปราการของจักรวรรดิโรมันเดิมที่มีชื่อเป็นภาษาเจอร์มานิคว่า "Lucilinburhuc" (ที่โดยทั่วไปแปลว่าปราสาทเล็ก) ในปีต่อๆ มาซีกฟรีดก็สร้างปราสาทขึ้นใหม่บนซากปราสาทเดิม บนเนินหินที่ต่อมาเรียกว่า "Bock Fiels" ปราสาทนี้ตั้งเด่นอยู่บนถนนโรมันที่เชื่อมระหว่างเมืองแรงส์, อาร์ลอง และ เทรียร์ ซึ่งทำให้ได้รับผลประโยชน์จากการค้าขายและการเก็บภาษี ประวัติของลักเซมเบิร์กเริ่มขึ้นเมื่อปราสาทหลังนี้สร้างขึ้น แต่แม้ว่าจะได้สร้างปราสาทขึ้นแต่เคานท์ซีกฟรีดและทายาทต่อมาก็ไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหลัก

ต่อมาปราสาทก็ขยายตัวขึ้นเป็นเมืองเล็กๆ มีตลาดที่ตั้งขึ้นรอบปราสาทที่สร้างขึ้นใหม่ ผู้ที่อยู่อาศัยรอบๆ ปราสาทในสมัยแรกๆ ก็คงจะเป็นข้าทาสบริวารของเคานท์ซีกฟรีดและนักบวชของสำนักสงฆ์เซนต์ไมเคิล ถิ่นฐานนี้ไม่นานก็ได้รับความคุ้มครองจากการก่อสร้างกำแพงเมือง และ คูล้อมรอบ

นอกไปจากเมืองเล็กๆ ไม่ไกลจาก "Bock Fiels" และถนนโรมันแล้ว ก็ยังมีชุมชนอีกชุมชนหนึ่งก่อตั้งตัวขึ้นในบริเวณลุ่มน้ำอัลแซตต์ (ปัจจุบันคือชุมชนกรุนด์) เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1083 เมืองล่างก็มีวัดสองวัด สะพานสองสะพานข้ามแม่น้ำอัลแซตต์และเพทรัสส์ ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ก็ประกอบอาชีพต่างๆ ที่รวมทั้งการจับปลา การอบขนมปัง และ การสีข้าว ในปีเดียวกันนั้นก็ได้มีการก่อตั้งแอบบีคณะเบเนดิกติน--แอบบีอัลท์มึนสเตอร์--ขึ้นโดยเคานต์คอนราดที่ 1 แห่งลักเซมเบิร์กบนเนินหลังปราสาท

เฮนรีที่ 3 แห่งลักเซมเบิร์กเป็นเคานต์คนแรกที่ทราบที่ใช้ปราสาทลักเซมเบิร์กเป็นที่อยู่อย่างถาวร ในเอกสารจากปี ค.ศ. 1089 กล่าวถึงเฮนรีว่า "comes Henricus de Lutzeleburg" ซึ่ทำให้เฮนรีเป็นเคานท์แห่งแห่งลักเซมเบิร์กคนแรกที่ได้รับการบันทึกอย่างเป็นทางการ

ตัวเมืองรอบปราสาทก็ขยายตัวขึ้นเป็นลำดับ จนกลายเป็นศูนย์กลางขนาดเล็กแต่เป็นรัฐที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อฝรั่งเศส เยอรมนี และกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ ป้อมปราการของลักเซมเบิร์กก็ได้รับการสร้างเสริมและขยายตัวเพิ่มขึ้นตามลำดับโดยผู้ครองคนต่อๆ มา ซึ่งเป็นผลทำให้กลายมาเป็นป้อมปราการที่แข็งแรงมั่นคงที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป ระบบการป้องกันอันแน่นหนาและตำแหน่งอันสำคัญทางยุทธศาสตร์ทำให้ลักเซมเบิร์กได้รับสมญาว่าเป็น "ยิบรอลตาร์แห่งภาคเหนือ"

ราชวงศ์ลักเซมเบิร์กมีประมุขหลายพระองค์ที่ได้รับเลือกให้เป็นหรือเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมีย และรวมทั้งอาร์ชบิชอปแห่งเทรียร์ และอาร์ชบิชอปแห่งไมนทซ์ ตั้งแต่สมัยยุคกลางตอนต้นมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาลักเซมเบิร์กก็ถูกเรียกกันไปต่างแล้วแต่ผู้เขียน ที่รวมทั้ง Lucilinburhuc, Lutzburg, Lützelburg, Luccelemburc, Lichtburg และอื่นๆ

ดัชชี (ค.ศ. 1353 - ค.ศ. 1790)

แผนที่การแบ่งแยกลักเซมเบิร์กที่เกิดขึ้นหลายครั้งทำให้อาณาจักรลดขนาดลงเป็นอันมาก

ลักเซมเบิร์กดำรงตัวเป็นอาณาจักรอิสระของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มาจนถึง ค.ศ. 1354 เมื่อจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ยกฐานะลักเซมเบิร์กขึ้นเป็นดัชชีให้แก่พระอนุชาเวนสเลาสที่ 1 ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก ดัชชีลักเซมเบิร์กได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1353 โดยการรวมเคาน์ตีลักเซมเบิร์กเข้ากับอาณาจักรมาร์กราฟแห่งอาร์ลอง เคาน์ตีเดอร์บีย์และลาโรชอองอาร์แดนน์ และรวมทั้งดิสตริกต์ทิออนวิลล์ บิทบูร์ก และ มาร์วิลล์, เมิซ เคาน์ตีแห่งไวอังเดิงก็อาจจะนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งด้วยเมื่อกลายมาเป็นเมืองขึ้นของเคานต์และดยุกแห่งลักเซมเบิร์กเมื่อราวเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1264.

ต่อมาดัชชีลักเซมเบิร์กก็ตกไปเป็นของดยุกแห่งเบอร์กันดีของราชวงศ์วาลัวส์ และของอาร์ชดยุกแห่งออสเตรียแห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์ก กลุ่มสิบเจ็ดมณฑลได้รับการก่อตั้งขึ้นเป็นสหพันธ์อันสำคัญโดยสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตาม Pragmatic Sanction of 1549

ในปี ค.ศ. 1792 การปฏิวัติฝรั่งเศสก็นำมาซึ่งความสิ้นสุดของระบบการปกครองดังกล่าว จนกระทั่งการประชุมแห่งเวียนนาในปี ค.ศ. 1815 มาแก้สถานการณ์ที่ยกฐานะของดัชชีลักเซมเบิร์กขึ้นเป็นราชรัฐลักเซมเบิร์ก และมอบให้อยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์ในการเป็นรัฐร่วมประมุขกับสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

แกรนด์ดัชชี (ค.ศ. 1815 - ปัจจุบัน)

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์อินเดีย ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติการบินไทย ประวัติศาสตร์เทคโนโลยี