ประวัติศาสตร์ไทย_(พ.ศ._2475–2516)
ประวัติศาสตร์ไทย_(พ.ศ._2475–2516)

ประวัติศาสตร์ไทย_(พ.ศ._2475–2516)

ประวัติศาสตร์ไทยระหว่าง พ.ศ. 2475 ถึง 2516 เป็นสมัยที่ถูกครอบงำโดยระบอบเผด็จการทหาร กองทัพเข้ามาครองอำนาจการเมืองไทยหลังจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 โดยกลุ่มที่เรียกตนเองว่า คณะราษฎร ความแตกแยกภายในคณะราษฎรสุดท้ายฝ่ายทหารหนุ่มเป็นฝ่ายชนะ ในช่วงแรก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรีที่ประสานความเข้าใจระหว่างคณะราษฎรกลุ่มต่าง ๆ แต่รัฐบาลยังขาดเสถียรภาพ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2481 เขาหันไปส่งเสริมลัทธิชาตินิยมและแสนยนิยมแทนลัทธิรัฐธรรมนูญ ประกาศรัฐนิยม เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามมาเป็นไทย ลดบทบาททางสังคมของพระมหากษัตริย์ และนำพาประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองโดยถือข้างญี่ปุ่น หลังสงคราม ไทยรอดพ้นจากการตกเป็นประเทศผู้แพ้สงครามจากความสัมพันธ์กับรัฐบาลสหรัฐ มีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีหลายคน จนในปี 2490 จอมพล ป. พิบูลสงครามชิงอำนาจกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในช่วงสงครามเย็น ไทยเข้าเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอย่างเต็มตัว เข้าร่วมสงครามเกาหลี เข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) แต่ในปี 2500 เขาถูกจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐประหาร นับเป็นการปิดฉากคณะราษฎรหลังจากนั้นประเทศไทยเข้าสู่ยุคเผด็จการเบ็ดเสร็จ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ใช้อำนาจปกครองประเทศอย่างเฉียบขาดและดำเนินนโยบายพัฒนาชนบท นโยบายให้สหรัฐเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยเพื่อใช้ทำสงครามเวียดนามทำให้เกิดการกลายเป็นตะวันตกและการทำให้ทันสมัยของประเทศอย่างรวดเร็ว หลังจากจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรมในปี 2506 จอมพลถนอม กิตติขจรปกครองประเทศสืบต่อมา ในช่วงนี้ เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วแต่มีความเหลื่อมล้ำสูง ประเทศไทยกลายเป็นอุตสาหกรรมและทำให้มีการกลายเป็นเมืองอย่างรวดเร็ว ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการรับค่านิยมเสรีภาพแบบตะวันตกทำให้เกิดสำนึกทางการเมืองจนนำไปสู่การเดินขบวนและการสิ้นสุดของระบอบถนอมในปี 2516

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติศาสตร์สเปน ประวัติศาสตร์เยอรมนี ประวัติศาสตร์อินเดีย