รับราชการและบทบาททางการเมือง ของ ประวิตร_วงษ์สุวรรณ

พล.อ. ประวิตร ถือได้ว่าเป็นนายทหารที่เติบโตมาจากกองทัพภาคที่ 1 ทางภาคตะวันออกมาโดยตลอด โดยสังกัดกับกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ร.21 รอ.) หรือที่เรียกกันว่า "ทหารเสือราชินี" ถือได้ว่าเป็นนายทหารรุ่นพี่ที่สนิทสนมกับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตผู้บัญชาการทหารบก และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน และอดีตผู้บัญชาการทหารบก

ในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550 พล.อ. ประวิตรเป็นกรรมการในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงตามญัตติถอดถอนกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจรัล ดิษฐาอภิชัย[19]

พล.อ. ประวิตร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ในเหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552 ในวันที่ 12 เมษายน เมื่ออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีประกาศใช้พระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินที่กระทรวงมหาดไทยในช่วงเวลาเที่ยง พล.อ. ประวิตร ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ประจำกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552

ปลายปี พ.ศ. 2553 สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ได้ตั้งฉายาว่า "ป้อมทะลุเป้า" สืบเนื่องจากผลงานด้านความมั่นคงในการสลายการชุมนุมเสื้อแดงที่บรรลุเป้าหมาย รวมถึงการขออนุมัติงบประมาณต่าง ๆ ที่ถูกครหา[20]ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน และอดีตรองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

ในปี พ.ศ. 2557 หลังการยึดอำนาจการปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานที่ปรึกษา และเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลของพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา[21] และได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลงานด้านความมั่นคง

เขายังเป็นนายกสภาทหารผ่านศึก[22]ประธานคณะอนุกรรมการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ[23] ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยคนที่ 7 กรรมการในคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล[24] รองประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ กรรมการในคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย[25] ประธานกรรมการมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด (ภาคตะวันออก)[26]

14 มิถุนายน พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 แต่งตั้ง ปฏิคม วงษ์สุวรรณ ลูกพี่ลูกน้อง พล.อ. ประวิตร เป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์[27]

23 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถูกโยงใยว่าอยู่เบื้องหลังการจัดตั้งพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย เพื่อรองรับการลงจากอำนาจ ของ คสช. ต่อมาได้ปฏิเสธ ว่าไม่มีความเกี่ยวข้องและไม่คิดจะเล่นการเมือง[ต้องการอ้างอิง]

27 มิถุนายน พ.ศ. 2561 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 แต่งตั้ง ปฏิคม วงษ์สุวรรณ ลูกพี่ลูกน้อง พล.อ. ประวิตร เป็นกรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ถึง 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 แต่งตั้งเขาเป็นรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน


กรณีนาฬิกาหรู 9 เรือน

การยกมือขึ้นบังแดดของ พล.อ. ประวิตร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระหว่างรอถ่ายรูปกับคณะรัฐมนตรีใหม่ "ประยุทธ์ 5" เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งคำถามว่าเหตุใด นาฬิกาเรือนโตยี่ห้อ Richard Mille จำนวน 9 เรือน จึงไม่ปรากฏอยู่ในประเภท "ทรัพย์สินอื่น" ที่มีราคามากกว่าสองแสนบาท ในบัญชีทรัพย์สินที่ยื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช ของ พล.อ. ประวิตร เมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อ ปี 2557[28]

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากเอกสารแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของ พล.อ. ประวิตร ที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557 นั้น พบว่า พล.อ. ประวิตร มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 87,373,757.62 บาท ประกอบด้วย 1. เงินในบัญชี 53 ล้านบาท 2. เงินลงทุน 7 ล้านบาท 3. ที่ดิน 17 ล้านบาท 4. โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง 10 ล้านบาท และ 5. รถ volkswagen ครอบครองปี 2543 และไม่พบว่ามีการยื่นชี้แจงในส่วนของบัญชีทรัพย์สินอื่นๆ ที่มีมูลค่าเกิน 2 แสนบาทไว้โดยคาดว่า นาฬิกาประดับข้อมือของ พล.อ. ประวิตร น่าจะเป็นรุ่น Richard Mille RM 029 ตัวเรือนทำด้วยแพลทินัม ส่วนสายเป็นยางอย่างดี มีจุดเด่นอยู่ตรงตัวเลขวันที่ขนาดใหญ่ สนนราคา 111,492.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราวๆ 3.6 ล้านบาท ขณะที่แหวนเพชรก็น่าจะอยู่ที่ราว 5 กะรัตขึ้นไป โดยมูลค่าในตลาดของเพชรเริ่มต้นที่ 4 - 7 ล้านบาท[29]

สื่อมวลชนได้วิพากษ์วิจารณ์ถึงการที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่กล้าปลด พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ว่าเนื่องจากพลเอก ประวิตร เป็นมือประสานสิบทิศรู้จักคนในวงการนักการเมืองและทหารตำรวจอย่างกว้างขวาง[30]

การวิพากษ์วิจารณ์ในกรณีอื่น ๆ

พล.อ. ประวิตร แสดงความคิดเห็นภายหลังเหตุเรือล่มในจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2561 ว่า "คนจีนเป็นเป็นคนนำนักท่องเที่ยวจีนเข้ามา เป็นเรื่องของนักท่องเที่ยวเขา เขาทำของเขาเอง เขาฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เราจะให้ไปเรียกความเชื่อมั่นได้อย่างไร" ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางทั้งในและนอกประเทศ[31]

ต่อมาหลังเหตุการโจมตีโรงแรมที่ไนโรบี พ.ศ. 2562 พล.อ. ประวิตรให้สัมภาษณ์ว่ามูลเหตุหนึ่งที่ทำให้กลุ่มติดอาวุธโจมตีโรงแรมดุสิตดีทูในเครือดุสิตธานี ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากนั้นอาจเกิดจากอาหารในโรงแรมอร่อย ส่งผลให้มีผู้ไม่พอใจในความคิดเห็นดังกล่าวทั้งในและต่างประเทศ[32]

ใกล้เคียง

ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประวิทย์ มาลีนนท์ ประวิช รัตนเพียร ประวิทย์ เปรื่องอักษร ประวิทย์ รุจิรวงศ์ ประวิตร โรจนพฤกษ์ ประวิทย์ สุวรรณวิจิตร ประวิสรรชนีย์ ประวิทย์ ชินเวศยวงศ์ ประวิติพระยามหานุภาพ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประวิตร_วงษ์สุวรรณ http://www.bbc.com/thai/thailand-40892927 http://www.bbc.com/thai/thailand-42242212 http://news.sanook.com/991316/ http://www.komchadluek.net/news/crime/311688 http://www.oknation.net/blog/print.php?id=191641 http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURO... http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsI... http://www.matichon.co.th/news/174160 http://www.bangkok.go.th/upload/user/00000302/pdf%... http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/...