การทำงาน ของ ประเดิม_ดำรงเจริญ

พ.ศ. ๒๕๑๕ ผู้จัดการ นิตยสารรายเดือน“วรรณกรรมเพื่อชีวิต” พ.ศ. ๒๕๑๖ คณะผู้จัดทำ หนังสือ “มหาวิทยาลัย: ที่ยังไม่มีคำตอบ” นิตยสารของชมรมคนรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หนังสือออกเผยแพร่ต้นเดือนมิถุนา ๒๕๑๖ ผลทำให้ถูกลบชื่อจากการเป็นนักศึกษาพร้อมคณะรวม ๙ คน ก่อให้เกิดการเดินขบวนประท้วงครั้งใหญ่ของนักศึกษา ในวันที่ 21-22 มิถุนายน พ.ศ. 2516 และได้กลายเป็นชนวนจุดเรียกร้องให้ผู้กุมอำนาจรัฐร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน ๖ เดือน ซึ่งก่อให้เกิดขบวนการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และเกิดเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖ ในเวลาต่อมาพ.ศ. ๒๕๑๗ ประธานฝ่ายเอกสารและสิ่งพิมพ์ “โครงการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย” องค์กรร่วมระหว่าง สำนักนายกรัฐมนตรี กับ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) พ.ศ. ๒๕๑๗ คณะผู้ก่อตั้ง พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๗ ผู้อำนวยการ วารสารรายปักษ์“ศูนย์” ของ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) พ.ศ. ๒๕๑๗ ผู้อำนวยการ หนังสือพิมพ์ “อธิปัตย์” ของ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.)พ.ศ. ๒๕๑๗ บรรณาธิการ “วารสาร สัจจธรรม” ของพรรคสัจจธรรม มหาวิทยาลัยรามคำแหง ทำให้ต้องคดีการเมืองจนต้องติดคุกฟรีโดยต่อมาศาลพิพากษาว่าบริสุทธิ์พ.ศ. ๒๕๑๘ ประธานพรรคสัจจธรรม มหาวิทยาลัยรามคำแหง ชนะการเลือกตั้งทั้งสภานักศึกษาและองค์การนักศึกษาทั้ง ๒ สถาบัน จากการกุมอำนาจเบ็ดเสร็จนี้เอง จึงเป็นครั้งแรกของ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่สามารถปราบพวกกลุ่มแก๊งค์อิทธิพลทั้งที่เป็นและไม่ได้เป็นนักศึกษาที่ทำตัวเป็นเจ้าพ่อที่คอยรีดไถในรั้วมหาวิทยาลัยลงได้อย่างราบคาบ สามารถปราบปรามกลุ่มอิทธิพลที่คุมสี่ล้อเล็กหน้ามหาวิทยาลัยได้ และสหกรณ์นักศึกษารามคำแหงที่เคยขาดทุนมาทุกปีก็สามารถพลิกฟื้นคืนมาให้ได้กำไรภายใน ๑ ปีพ.ศ. ๒๕๑๘ ประจำกองบรรณาธิการ นิตยสาร มหาราษฎร์ รายสัปดาห์ นิตยสารฉบับนี้มี นายวีระ โอสถานนท์ (อดีต ร.ท. แห่งราชนาวีไทย ผู้ร่วมพยายามกระทำการรัฐประหารรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งต่อมาเรียกเหตุการณ์นี้ว่า กบฏแมนฮัตตัน) เป็นผู้อำนวยการพ.ศ. ๒๕๑๘-๑๙ ผู้สื่อข่าวพิเศษ นิตยสาร ประชาชาติ รายสัปดาห์ ประจำที่ สิงคโปร์ และ กัวลาลัมเปอร์พ.ศ. ๒๕๒๐ นักศึกษา ทุนรัฐบาลประเทศสวีเดน หลังเหตุการณ์รัฐประหารเลือด “๖ ตุลา ๑๙” ได้ออกจากเมืองไทย ได้รับทุนเข้าศึกษาที่ โรงเรียนกราฟิกแห่งกรุงสต็อกโฮล์ม (Stockholm Grafiska Skolan) และต่อที่ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสต็อกโฮล์ม พ.ศ. ๒๕๒๐ นักกิจกรรม ทำหนังสือข่าว สมานฉันท์คนไทยในต่างแดน ร่วมกลุ่มนักศึกษา นักหนังสือพิมพ์ ปัญญาชนไทย ในสวีเดนพ.ศ. ๒๕๓๖ ใช้นามปากกา “แก้วคำทิพย์ ไชย” ผลิตงานหนังสือชุด “วรรณกรรมอมตะของโลก” มีผลงานออกมากว่า ๙๐ เรื่องพ.ศ. ๒๕๓๖ ใช้นามปากกา “สมฤทธี บัวระมวล” ผลิตงานที่เด่นๆ เช่น “ตำนานเทพเจ้ายุโรปเหนือ” “สปาร์ตาคุส”พ.ศ. ๒๕๔๖ คณะกรรมการดำเนินการชุดใหญ่ และ ประธานคณะทำงานดนตรีและเพลง รัฐสภา งานฉลอง “๓๐ ปี ๑๔ ตุลา” พ.ศ. ๒๕๔๙ หัวหน้าพรรค พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๙-๕๑ คณะผู้ก่อตั้ง สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง (สศมร) ได้รับเลือกตั้งเป็น อุปนายกสมาคม และเป็นประธานจัดงานเปิดตัว สศมร. ครั้งแรกพ.ศ. ๒๕๕๐รวบรวม เขียน แปล เรียบเรียง สารานุกรม คำคม ชีวิตคนดัง อันเป็นหนังสือว่าด้วยคติและประวัติชีวิตบุคคลชั้นนำของโลกในแขนงต่างๆพ.ศ. ๒๕๕๑ ผู้อำนวยการ อัลบั้มเพลง “มหากาพย์ชาวนา” และเป็นผู้แต่งคำร้องทั้งอัลบั้ม (๑๒ เพลง) พ.ศ. ๒๕๕๓ ผู้ชนะเลิศ รางวัลพระพิฆเนศทองพระราชทาน ๒ รางวัล ในการดำเนินการของ สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ครั้งที่ ๗ จาก ๑.เพลงไทยพื้นบ้านภาคเหนือยอดเยี่ยม คือเพลง “เมืองพาน ต้นธารเจ้าพระยา” ๒.เพลงไทยพื้นบ้านภาคใต้ยอดเยี่ยม คือเพลง “ปักษ์ใต้แดนทอง”พ.ศ. ๒๕๕๔ผลงานเรื่อง “เจ้าน้อยฟอนเติลรอย” ที่ผลิตจากภาษาอังกฤษต้นฉบับของ ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เนตต์ ในนามปากกา แก้วคำทิพย์ ไชย ได้รับเลือกจาก คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) เป็น“หนังสืออ่านนอกเวลา สาระการเรียนรู้ภาษาไทย” ลำดับที่ ๑ ของระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้รับโล่ห์ประกาศเกียรติคุณเป็นศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนสมาคมโรงเรียนราษฎร์ (ร.ร.ร.)พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่น รางวัลชมเชยประเภทหนังสือสารคดี จากผลงาน"แม่หม่อนเถียม อายุ ๑๐๐ ปี" ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติปี พ.ศ. ๒๕๕๖ พ.ศ. ๒๕๕๙ ผู้ชนะเลิศ รางวัลพระพิฆเนศทองพระราชทาน ในการดำเนินการของ สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ครั้งที่ ๘ จากเพลงไทยพื้นบ้านภาคอิสานยอดเยี่ยม คือ เพลง “น้ำของ มหานทีแห่งชีวิต”