การเมืองการปกครอง ของ ประเทศซีเรีย

รูปแบบการปกครอง แบบสาธารณรัฐภายใต้การปกครองโดยทหาร (นับแต่ปี ค.ศ.1963) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ เลือกตั้งคราวละ 7 ปี มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ประมุขของรัฐคนปัจจุบันคือ นายบัชชาร อัลอะซัด (ตั้งแต่ 17 กรกฎาคม 2543)

บริหาร

ดูบทความหลักที่: รัฐบาลซีเรีย

หัวหน้าฝ่ายบริหาร นาย Mustafa Mohammed Miro (นายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ 13 มีนาคม 2543)

นิติบัญญัติ

ดูบทความหลักที่: รัฐสภาซีเรีย

ตุลาการ

ดูบทความหลักที่: กฎหมายซีเรีย
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

สถานการณ์การเมือง

ในปี 2513 พันเอก ฮาเฟซ อัล-อัสซาด ได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจปกครองประเทศ [1] และในปี พ.ศ. 2514 ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของซีเรียจนถึงอสัญกรรมเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2543 เดือนต่อมา บุตรชายของอดีตประธานาธิบดี ดร. บัชชาร อัลอะซัด ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของซีเรีย

ซีเรียเป็นประเทศค่อนข้างปิด โดยเฉพาะในสมัยของประธานาธิบดี ฮาเฟซ อัล-อัสซาด เป็นประเทศนิยมอาหรับและมีนโยบายต่อต้านตะวันตก และอิสราเอล นอกจากนั้น ซีเรียมีอิทธิพลต่อเลบานอนในด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ ทำให้การเจรจาใด ๆ ระหว่างอิสราเอลกับเลบานอนจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการเจรจาระหว่างซีเรียกับอิสราเอลด้วย อย่างไรก็ดี การที่ ดร. บาชาร์ อัล-อัสซาด ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตกทำให้เห็นความสำคัญของการปฏิรูปประเทศทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ และเห็นความจำเป็นต้องเปิดประเทศเพื่อรับการลงทุน และความช่วยเหลือ โดยเฉพาะจากสหรัฐฯ แต่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาสันติภาพกับอิสราเอล ดร. บาชาร์ อัล-อัสซาด คงยึดมั่นนโยบายของบิดา สำหรับความสัมพันธ์กับเลบานอน การถอนกองกำลังอิสราเอลออกจากเลบานอนตอนใต้ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2543 ได้สร้างแรงกดดันให้ซีเรียทบทวนและพิจารณาความจำเป็นและเหตุผลของการคงกองกำลังของตนประมาณ 30,000 นาย อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2548 ซีเรียได้ถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากเลบานอนหลังจากเหตุการณ์ลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีเลบานอนนาย ราฟิก ฮาริรี่

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

สิทธิมนุษยชน

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

มีการสั่งปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ชื่อดังทั้ง “กูเกิ้ล” “ยูทูบ” “เฟซบุ๊ค” และ “วิกิพีเดีย” เมื่อองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายแห่ง และ สื่อต่างชาติอีกหลายสำนัก เริ่มเสนอรายงานตีแผ่การที่อัสซาดตั้งหน่วยตำรวจลับเพื่อจับกุมผู้ที่แสดงตนว่าต่อต้านรัฐบาลมาจำคุก ทรมานร่างกาย หรือสังหารอย่างเหี้ยมโหด หลายฝ่ายเริ่มจับจ้องมายังซีเรีย ซึ่งแน่นอนว่า อัสซาดออกมาปฏิเสธเรื่องราวทั้งหมด