เศรษฐกิจ ของ ประเทศอิตาลี

เกษตรกรรม

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ในช่วงหลังของทศวรรษ 1980 เศรษฐกิจของอิตาลีจัดอยู่ในเกณฑ์ดี แต่เริ่มประสบปัญหาในทศวรรษต่อมา ทำให้รัฐบาลไม่สามารถควบคุมปัญหาการขาดดุลสาธารณะได้ เดิมอิตาลีเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่หลังจากปี ค.ศ. 1945 ได้เริ่มพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจนกระทั่งปัจจุบันมีประชากรเพียงร้อยละ 7 อยู่ในภาคการเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้และมีฐานะยากจนกว่าทางภาคเหนือและกลาง พืชหลักที่เพาะปลูก ได้แก่ ต้นบีต ข้าวสาลี ข้าวโพด มันเทศและองุ่น (อิตาลีใช้องุ่นทำไวน์และเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกด้วย)[5]

ประเทศอิตาลีมีพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะแก่การเกษตรกรรม และมีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก แม้จะมีก๊าซธรรมชาติอยู่บ้าง จึงเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าอาหาร และพลังงาน อิตาลีเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเกษตรกรรม เป็นอุตสาหกรรมแบบพื้นฐาน และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของโลก โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรสูงไล่เลี่ยกับอังกฤษและฝรั่งเศส อิตาลีมีจุดแข็งในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

ประเทศอิตาลีเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศแรกทั้งหมด 11 ประเทศที่เข้าร่วมในสหภาพยุโรปในปี ค.ศ. 2002 และอิตาลีก็ได้เปลี่ยนสกุลเงินมาเป็นยูโร ซึ่งก่อนหน้านั้นอิตาลีใช้สกุลเงินลีร์ (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1881)

อุตสาหกรรม

รถยนต์เฟียท 500 (Fiat 500) รุ่นใหม่ที่ผลิตขึ้นในเมืองโตริโน แคว้นปีเยมอนเตเฟอร์รารี 458 อิตาเลีย

อุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศมี รถยนต์ บริษัทรถยนต์ที่รู้จักกันดี เช่น อัลฟาโรเมโอ เฟียต เฟอร์รารี่ ลัมโบร์กีนี (ปัจจุบันอยู่ในเครือโฟล์กสวาเกน) และ มาเซราติ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้า เครื่องเรือน อุตสาหกรรมทอผ้า เสื้อผ้า แฟชั่น และการท่องเที่ยว อิตาลีเป็นสมาชิกกลุ่มจี 8 และเข้าร่วมสหภาพการเงินของสหภาพยุโรป (EMU) เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 แม้ระบบเศรษฐกิจของอิตาลีเป็นระบบทุนนิยม ที่ภาคเอกชนสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเสรี แต่รัฐบาลยังคงเข้ามามีบทบาทควบคุมกิจกรรมที่สำคัญ เช่น สาธารณูปโภค อุตสาหกรรมพื้นฐาน เป็นต้น ซึ่งได้ก่อประโยชน์ให้แก่ภาครัฐบาลในการสร้างฐานอำนาจ และแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างพรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะลดบทบาทของพรรคการเมือง โดยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการ แต่อิตาลียังมีปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศหลายอย่าง เช่น การขาดดุลงบประมาณในระดับสูง การว่างงาน การขาดแคลนทรัพยากรพลังงานในประเทศ และระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างอิตาลีตอนเหนือ (แคว้นลอมบาร์ดี เอมีเลีย-โรมัญญา และทัสกานี) ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและการค้า และมีกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs อยู่หนาแน่น กับอิตาลีตอนกลางและตอนล่าง รวมทั้งเกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม บริเวณที่พัฒนาน้อยกว่านี้มีพื้นที่ประมาณ 40% ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยพื้นที่นี้มีประชากรอาศัยอยู่ถึงร้อยละ 35 ของประชากรทั้งประเทศ และมีอัตราการว่างงานสูงถึงกว่าร้อยละ 20 [10]

การท่องเที่ยว

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประเทศอิตาลี http://www.choktaweetour.com/index_info.php?ID=11 http://flickr.com/photos/tags/Italy/clusters/ http://www.mceducate.com/index.php?lay=show&ac=art... http://www.pakxe.com/home/modules.php?name=Content... http://www.toursooksun.com/index.php?lay=show&ac=a... http://eudocs.lib.byu.edu/index.php/History_of_Ita... http://www.buddhismo.it/ente.htm http://www.corriere.it/Primo_Piano/Cronache/2006/0... http://demo.istat.it/bilmens2015gen/index.html http://www.istat.it/it/archivio/65070