การเมืองการปกครอง ของ ประเทศอิตาลี

การปกครองของประเทศอิตาลีเป็นรูปแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย มีรัฐสภา และใช้ระบบพรรคผสม รัฐสภาของอิตาลีประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ผู้แทนของทั้งสองสภาดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี[8] รัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ส่วนอำนาจนิติบัญญัติควบคุมโดยสภานิติบัญญัติสองสภา ประเทศอิตาลีใช้รูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยมาตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1946 หลังจากการล้มล้างระบอบราชาธิปไตยโดยการลงประชามติของประชาชน มีรัฐธรรมนูญฉบับแรกประกาศใช้เมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1948

บริหาร

ดูบทความหลักที่: รัฐบาลอิตาลี

นิติบัญญัติ

ดูบทความหลักที่: รัฐสภาอิตาลี

รัฐสภาอิตาลีประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ประธานรัฐสภา คือ ประธานสภาผู้แทนราษฎร การบัญญัติกฎหมายใดๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้ง 2 สภา วาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกทั้ง 2 สภาคือ 5 ปี และการเลือกตั้งจะทำพร้อมกันทั้ง 2 สภา โดยจะมีขึ้นทุก ๆ 5 ปี หรือเร็วกว่านั้นหากประธานาธิบดีไม่อาจสรรหานายกรัฐมนตรีที่สามารถจัดตั้ง คณะรัฐบาลให้ทั้ง 2 สภาให้ความเห็นชอบได้ การเลือกตั้งครั้งสุดท้ายคือเมื่อวันที่ 9 - 10 เมษายน พ.ศ. 2549 (มีการเลือกตั้ง 2 วันโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คนมาลงคะแนนมากขึ้น) สภาผู้แทนราษฎร (อิตาลี: Camera dei Deputati) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 630 คน โดย 475 คนมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และอีก 155 คนมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจากแคว้นต่างๆ ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งจะต้องมีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป วุฒิสภา (อิตาลี: Senato della Repubblica) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 326 คน โดย 315 คนมาจากการเลือกตั้งทั่วไป จากแคว้น ต่างๆ ทั่วประเทศ และมีสมาชิกวุฒิสภาตลอดชีพอีกจำนวนหนึ่ง (ปัจจุบันมี 7 คน) ซึ่งจะแต่งตั้งจากบุคคลชั้นนำของสังคม[9]

ตุลาการ

ดูบทความหลักที่: กฎหมายอิตาลี

สิทธิมนุษยชน

ดูบทความหลักที่: สิทธิมนุษยชนในอิตาลี
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

นโยบายต่างประเทศ

ความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

ความสัมพันธ์อิตาลี – ไทย

อิตาลี

ไทย
ด้านการทูต

ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิตาลีมา ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) โดยไทยและอิตาลีได้ลงนามสนธิสัญญาฉบับแรกคือ สนธิสัญญาว่าด้วยมิตรภาพ การพาณิชย์ และการเดินเรือ (Treaty of Friendship, Commerce and Navigation) ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1868 ต่อมาอิตาลีได้แต่งตั้งกงสุลอิตาลีประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2429555

ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-อิตาลีโดยทั่วไปดำเนินไปอย่างราบรื่น ทั้งสองฝ่ายไม่มีปัญหาขัดแย้งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน นอกจากนั้น ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนทั้งในระดับพระราชวงศ์ บุคคลสำคัญ และเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอ

ไทยมีสถานเอกอัครราชทูตไทยประเทศอิตาลีที่กรุงโรม และมีสถานกงสุลใหญ่ประจำประเทศไทย 5 แห่ง คือ ที่เมืองตูริน เจโนวา มิลาน นาโปลี และคาตาเนีย[9] และที่มีสถานเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทยที่กรุงเทพ

การค้าและเศรษฐกิจ

ในปี พ.ศ. 2549 ประเทศอิตาลีเป็นคู่ค้าของไทยอันดับที่ 4 ในสหภาพยุโรป และอันดับที่ 21 ในโลก โดยมีมูลค่าการค้ารวม 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 9.2 ของการค้ารวมของไทย เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2548 ร้อยละ 0.24 โดยไทยส่งออก 1.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 1.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการลงทุน ในปี พ.ศ. 2549 การลงทุนของอิตาลีในไทย มีมูลค่ารวม 481.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 จากปี พ.ศ. 2548 โดยเป็นด้านแร่ธาตุและเซรามิค 1 โครงการ อุตสาหกรรมเบาและเส้นใย 2 โครงการ ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร 3 โครงการ ด้านเคมีภัณฑ์และกระดาษ 1 โครงการและด้านบริการ 2 โครงการ

สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา ปลาหมึกสดแช่เย็น เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ อัญมณีและเครื่องประดับ ผ้าผืน เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์ เป็นต้น

สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์โลหะ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ การทดสอบ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เป็นต้น[9]

การท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยวอิตาลีมาท่องเที่ยวที่ประเทศไทยประมาณ 130,000 คนต่อปี โดยมีจำนวนมากน้อยตามสภาวะเศรษฐกิจของอิตาลีและยุโรป ในขณะที่นักท่องเที่ยวไทยไปอิตาลีปีละประมาณ 12,350 คน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี และสายการบินไทยมีเส้นทางการบินจากกรุงเทพสู่มิลาน สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน จากเดิมมีเพียงการบินจากโรมเข้าสู่กรุงเทพทั้งสิ้น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์[9]

กองทัพ

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนท้องถิ่น อิตาลีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 แคว้น แบ่งเป็นแคว้น 15 แคว้น และแคว้นปกครองตนเอง 5 แคว้น โดยในแต่ละแคว้นจะมีองค์กรการปกครองหลักอยู่ 3 องค์กร คือ[9]

  • คณะมนตรีแคว้น (Regional Council) ทำหน้าที่ตรากฎหมายและระเบียบข้อบังคับในเขตอำนาจ
  • คณะมนตรีกรรมการ (The Junta) ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร
  • ประธานคณะกรรมการ (The President of the Junta) ทำหน้าที่คล้ายนายกรัฐมนตรีในเขตอำนาจ แต่ทั้งนี้ ก็จะมีผู้แทนของรัฐบาลคนหนึ่งอยู่ประจำ ณ นครหลวงของแคว้นนั้น ๆ คอยควบคุมดูแลการบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นและทำหน้าที่ประสานงานระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นกับรัฐบาลกลาง

สาธารณรัฐอิตาลีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 แคว้นหรือ เรโจนี (อิตาลี: Regioni) และ 5 แคว้นปกครองตนเอง หรือ เรโจนีเอาโตโนเม (อิตาลี: Regioni autonome) และแต่ละแคว้นก็จะแบ่งการปกครองออกเป็นจังหวัด (อิตาลี: Province) และแต่ละจังหวัดก็จะแบ่งออกเป็นเทศบาลหรือ โกมูนี (อิตาลี: Comuni)

(ตัวหนังสือเอียง หมายถึง เป็นแคว้นปกครองตนเอง)

#แคว้นเมืองหลวงพื้นที่
(ตร.กม.)
ประชากร
[1]
1อาบรุซโซ
Abruzzo
ลากวีลา
L'Aquila
10,7941,334,675
2บาซีลีคาตา
Basilicata
โปเตนซา
Potenza
9,992590,601
3คาลาเบรีย
Calabria
คาตันซาโร
Catanzaro
15,0802,008,709
4คัมปาเนีย
Campania
เนเปิลส์ (นาโปลี)
Naples (Napoli)
13,5955,812,962
5เอมีเลีย-โรมัญญา
Emilia-Romagna
โบโลญญา
Bologna
22,1244,337,979
6ฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลีย
Friuli-Venezia Giulia
ตรีเยสเต
Trieste
7,8551,230,936
7ลาซีโอ
Lazio
โรม (โรมา)
Rome (Roma)
17,2075,626,710
8ลีกูเรีย
Liguria
เจนัว (เจโนวา)
Genoa (Genova)
5,4211,615,064
9ลอมบาร์ดี (ลอมบาร์เดีย)
Lombardy (Lombardia)
มิลาน (มีลาโน)
Milan (Milano)
23,8619,742,676
10มาร์เก
Marche
อังโกนา
Ancona
9,6941,569,578
11โมลีเซ
Molise
กัมโปบัสโซ
Campobasso
4,438320,795
12ปีเยมอนเต
Piemonte
ตูริน (โตรีโน)
Turin (Torino)
25,3994,432,571
13ปุลยา
Puglia
บารี
Bari
19,3624,079,702
14ซาร์ดิเนีย (ซาร์เดญญา)
Sardinia (Sardegna)
คัลยารี
Cagliari
24,0901,671,001
15วัลเลดาออสตา (วาเลโดสต์)
Valle d'Aosta (Vallée d'Aoste)
อาออสตา
Aosta
3,2634,337,979
16ทัสกานี (ตอสกานา)
Tuscany (Toscana)
ฟลอเรนซ์ (ฟีเรนเซ)
Florence (Firenze)
22,9973,707,818
17เตรนตีโน-อัลโตอาดีเจ
Trentino-Alto Adige
เตรนโต
Trento
13,6071,018,657
18อุมเบรีย
Umbria
เปรูจา
Perugia
8,456894,222
19ซิซิลี (ซีชีเลีย)
Sicily (Sicilia)
ปาแลร์โม
Palermo
25,7085,037,799
20เวเนโต
Veneto
เวนิส (เวเนเซีย)
Venice (Venezia)
18,3914,885,548

เมืองสำคัญ

 
เมืองใหญ่ที่สุดในอิตาลี
ประมาณการจากสถาบันสถิติแห่งชาติอิตาลี (ISTAT) ประจำวันที่ 31 ธันวาคม 2013
ที่เมืองแคว้นประชากร (คน)ที่เมืองแคว้นประชากร (คน)

โรม

มิลาน
1โรมลาซีโอ2,869,46111เวนิสเวเนโต264,534
เนเปิลส์

ตูริน
2มิลานลอมบาร์เดีย1,324,16912เวโรนาเวเนโต259,966
3เนเปิลส์คัมปาเนีย989,11113เมสซีนาซิซิลี241,997
4ตูรินปีเยมอนเต902,13714ปาโดวาเวเนโต209,678
5ปาแลร์โมซิซิลี678,49215ตรีเยสเตฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลีย204,849
6เจนัวลีกูเรีย596,95816ตารันโตปุลยา203,257
7โบโลญญาเอมีเลีย-โรมัญญา384,20217เบรชชาลอมบาร์เดีย193,599
8ฟลอเรนซ์ทัสกานี377,20718ปราโตทัสกานี191,268
9บารีปุลยา322,75119ปาร์มาเอมีเลีย-โรมัญญา187,938
10กาตาเนียซิซิลี315,57620เรจโจคาลาเบรียคาลาเบรีย184,937

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประเทศอิตาลี http://www.choktaweetour.com/index_info.php?ID=11 http://flickr.com/photos/tags/Italy/clusters/ http://www.mceducate.com/index.php?lay=show&ac=art... http://www.pakxe.com/home/modules.php?name=Content... http://www.toursooksun.com/index.php?lay=show&ac=a... http://eudocs.lib.byu.edu/index.php/History_of_Ita... http://www.buddhismo.it/ente.htm http://www.corriere.it/Primo_Piano/Cronache/2006/0... http://demo.istat.it/bilmens2015gen/index.html http://www.istat.it/it/archivio/65070