โครงสร้างพื้นฐาน ของ ประเทศเยอรมนี

การคมนาคม และ โทรคมนาคม

เส้นทางคมนาคม

ถนน 650,000 กิโลเมตร ราง 41,315 กิโลเมตร ลำน้ำและชายฝั่ง 7,500 กิโลเมตร ท่าอากาศยาน 58 ท่า ทางรถไฟขนาดราง 1.435 เมตร ระยะทาง 41,315 กิโลเมตร ติดระบบรถไฟฟ้า 19,857 กิโลเมตร ผู้โดยสาร 19,500 ล้านเที่ยว สินค้า 415.4 ล้านตันต่อปี รถจักร 7,734 คัน รถ DMU (ดีเซลราง) และ EMU (รถไฟฟ้าราง) 15,762 คัน

โทรคมนาคม

รถไฟความเร็วสูงอินเตอร์ซิตี-เอกซ์เพรส ในสถานนีเครืองบินแอร์บัส เอ380ทีใหญ่ที่สุดในสายการบินลุฟต์ฮันซา

เยอรมนีเป็นศูนย์กลางการคมนาคมการขนส่งในทวีปยุโรปเนื่องจากตั้งอยู่ตรงกลางของทวีป[34]เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านในยุโรปตะวันตกเส้นทางและเครือข่ายถนนของเยอรมนีนั้นเรียกได้ว่าเป็นประเทศในกลุ่มที่มีเส้นทางคมนาคมที่หนาแน่นที่สุดในโลก[35]มีมอเตอร์เวย์ออโตบาห์นที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลกและเป็นที่ทราบกันดีว่าถนนเส้นนี้ไม่มีการจำกัดความเร็ว[36]

เยอรมนีได้มีการจัดตั้งเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงที่ชื่ออินเตอร์ซิตี-เอกซ์เพรสซึ่งจะวิ่งผ่านเมืองสำคัญ ๆ ในเยอรมันและในประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆด้วยความเร็วประมาณ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง [37]ทางรถไฟของเยอรมันได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลซึ่งมีเงินสนับสนุนมากถึง 17 พันล้านยูโรในปี 2014.[38]

ท่าอากาศยานของประเทศเยอรมนีที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติแฟรงก์เฟิร์ตและท่าอากาศยานนานาชาติมิวนิกและมีสายการบินที่ใหญ่ที่สุดคือลุฟต์ฮันซาและยังมีสนามบินอื่นๆอีกด้วยเช่นท่าอากาศยานเบอร์ลินเชอเนอเฟ็ลท์และท่าอากาศยานฮัมบวร์ค[39]และยังมีท่าเรือฮัมบวร์คที่เป็นท่าเรือที่คอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนีและใหญ่เป็นอันดับ17ของโลก[40]

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในปี ค.ศ. 1921.

เยอรมนีมีนักวิจัยที่โดดเด่นในสาขาวิทยาศาสตร์ต่างๆ ที่ได้รับรางวัลโนเบลถึง 103 รางวัล เช่น ผลงานของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และมักซ์ พลังค์ ถือเป็นรากฐานสำคัญของฟิสิกส์ยุคใหม่ และได้ถูกพัฒนาต่อมาโดยผลงานของแวร์เนอร์ ไฮเซินแบร์ค, แฮร์มัน ฟ็อน เฮ็ล์มฮ็อลทซ์, โยเซฟ ฟอน เฟราน์โฮเฟอร์, การีเอิล ดานีเอิล ฟาเรินไฮท์ และวิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน ผู้ค้นพบรังสีเอกซ์ ความสำเร็จนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1901

นักวิศวกรรมการบินอวกาศชื่อ แวร์นแฮร์ ฟ็อน เบราน์ ผู้พัฒนาจรวดในยุคแรกและต่อมาเป็นสมาชิกสำคัญของนาซาและพัฒนาจรวด Saturn V Moon ซึ่งปูทางสำหรับความสำเร็จของโครงการอะพอลโลงานของ ไฮน์ริช แฮทซ์ ในด้านรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นความรู้ที่สำคัญในการพัฒนาโทรคมนาคมสมัยใหม่ ผ่านการก่อสร้างห้องปฏิบัติการแรกที่มหาวิทยาลัยซิกใน 1879 ของเขา, Wilhelm Wundt เป็นเครดิตกับสถานประกอบการของจิตวิทยาเป็นอิสระเชิงประจักษ์ วิทยาศาสตร์ อเล็คซันเดอร์ ฟ็อน ฮุมบ็อลท์ ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและ explorer เป็นพื้นฐานเพื่อชีวภูมิศาสตร์

การนำเข้าและส่งออกของเยอรมนีในปี 2553 จัดว่าอยู่ในทิศทางที่ดี มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการนำเข้า มีมูลค่ารวมมากกว่า 800,000 ล้านยูโร ส่วนการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 18% คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 950,000 ล้านยูโร โดยในจำนวนนี้ 95% ส่งออกไปยังตลาดยุโรป และกว่า 11% ส่งออกไปยังตลาดเอเชีย โดยเฉพาะจีน ซึ่งมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 5.5%ของการส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้ ในช่วงปี 2552-2553 อุตสาหกรรมยานยนต์ของเยอรมนีปรับตัวดีขึ้นมาก เนื่องจากการสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจากจีน โดยในปี 2553 เยอรมนีส่งออกรถเพิ่มขึ้น 24% และการผลิตรถยนต์ในประเทศเพิ่มขึ้น 12%

การศึกษา

ดูบทความหลักที่: การศึกษาในประเทศเยอรมนี
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ในปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนนักศึกษาทั้งหมด ประมาณ 12.6 ล้านคน ที่ประเทศมีครูอาจารย์ทั้งหมด ประมาณ 780,000 คน ตามที่โรงเรียนสถานศึกษากว่า 52,000 แห่งในเยอรมัน การศึกษาภาคบังคับเริ่มตั้งแต่อายุ 6 18 ปี รวมการศึกษาภาคบังคับทั้งหมด 12 ปี ซึ่งนักเรียนจำเป็นต้องเรียนหลักสูตรภาคบังคับแบบเต็มเวลานี้อย่างน้อย 9 ปี (ในบางรัฐ 10 ปี) หลังจากนั้นนักเรียนสามารถเลือกเรียนหลักสูตรสายอาชีพหรือฝึกงาน ซึ่งเป็นการเรียนแบบไม่เต็มเวลาได้ โรงเรียนเอกชนในเยอรมันมีไม่กี่แห่งที่ดำเนินการโดยนักสอนศาสนา โรงเรียนส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนรัฐบาล เรียนฟรีไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน หนังสือและตำราเรียนมักมีให้นักเรียนยืมไม่ต้องซื้อ แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ของส่วนตัวก็จะให้ผู้ปกครองบริจาคเงินตามกำลังทรัพย์ที่มี เมื่อนักเรียนอายุ 6 ปี จะเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาเป็นเวลา 4 ปี หลังจากจบประถมศึกษาแล้วจึงศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็น 4 ประเภทด้วยกัน Secondary General School (Houptschule) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ให้การศึกษาวิชาพื้นฐานทั่วไป วิชาที่สอน ได้แก่ ภาษาเยอรมัน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ สังคมวิทยา ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) และวิชาแนะนำวิชาชีพ เวลาเรียน 6 ปี หลังจบนักเรียนจะได้รับใบประกาศนียบัตรเพื่อเป็นประตูสู่การศึกษาสายวิชาชีพ Intermediate School (Realschule) เป็นโรงเรียนที่อยู่ระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ให้การศึกษาวิชาพื้นฐานทั่วไป (Secondary General School) กับโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เน้นวิชาการ (Grammar School) หลักสูตรส่วนใหญ่จะเน้น วิชาพื้นฐานทั่วไป หลังจบหลักสูตร 6 ปี แล้วจะได้ประกาศนียบัตรเพื่อศึกษาต่อไปในระดับที่สูงขึ้น เช่น โรงเรียนอาชีวะ ที่ต้องเรียนเต็มเวลา ประมาณ 40% ของผู้จบโรงเรียนมัธยมจะได้ประกาศนียบัตรแบบนี้ Grammar School (Gymnasium) เป็นการศึกษาระดับมัธยมศึกษา 9 ปี เป็นการเรียนการสอนที่เน้นวิชาการ และเมื่อเรียนในระดับ เกรด 11 13 วิธีการเรียนจะแบ่งเป็นการเลือกกลุ่มวิชา (Course) ที่ถนัด เพื่อเน้นบางสาขาวิชาโดยเฉพาะ เพื่อเตรียมตัวเข้าเรียนมหาวิทยาลัยหลังจากจบเกรด 13 แล้ว Comprehensive School (Gesamtshule) เป็นการผสมผสานการเรียนการสอนของโรงเรียนมัธยมทั้ง 3 ประเภท เข้าด้วยกันภายใต้การบริหารหนึ่งเดียว นักเรียนเริ่มเรียนตั้งแต่เกรด 5 ถึง เกรด 10 และจะเริ่มเรียนวิชาเฉพาะทาง ในระดับเกรด 7 บางกลุ่มวิชาจะมีการแบ่งการเรียนออกเป็นกว่า 11 ระดับ แล้วแต่ความยากง่าย

สาธารณสุข

รัฐสวัสดิการ

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประเทศเยอรมนี http://library.mcmaster.ca/maps/fc1999.htm http://www.aircraft-charter-world.com/airports/eur... http://www.bloomberg.com/news/2014-05-20/immigrati... http://www.janes.com/article/52745/germany-to-incr... http://www.theartnewspaper.com/articles/Ice-Age-iL... http://www.presse.adac.de/standpunkte/Verkehr/Auto... http://www.bundeskanzlerin.de/Webs/BK/En/Homepage/... http://www.bundespraesident.de/DE/Amt-und-Aufgaben... http://www.bundespraesident.de/EN/Home/home_node.h... http://www.bundesregierung.de/Webs/Breg/EN/Homepag...