การทำงาน ของ ประแสง_มงคลศิริ

รับราชการ

ปี พ.ศ. 2529 หลังจบปริญญาโทได้เข้ารับราชการที่กรมโยธาธิการ 1 ปี จากนั้นสอบชิงทุนรัฐบาลญี่ปุ่นเข้าเรียนที่ มหาวิทยาลัยโตเกียว ในปี พ.ศ. 2530 จนจบปริญญาเอกในปี 2534 และกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เคยดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง อาทิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีประสบการณ์ทำงานทางวิชาการและการศึกษากว่า 25 ปีอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นอาจารย์พิเศษให้กับ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์[1] เป็นที่ปรึกษากองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร [2] เป็นผู้ชำนาญการประจำ คณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร เป็นกรรมาธิการและโฆษกคณะกรรมาธิการ พรบ.การจัดการศึกษาเพื่อผู้พิการ พ.ศ. 2556 วุฒิสภา [3] เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย (ผู้ทรงคุณวุฒิ) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ฯลฯ

งานการเมือง

ปี พ.ศ. 2544 ได้ลาออกจากราชการ สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.สังกัดพรรคไทยรักไทย ในจังหวัดอุทัยธานี เขต 1 แต่แพ้ให้กับนายธีรพันธ์ วีระยุทธวัฒนะ จากพรรคชาติไทย ต่อมาคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) มีคำสั่งให้เลือกตั้งใหม่ (ใบเหลือง) ผลปรากฏว่านายประแสง ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก

ปี พ.ศ. 2548 นายประแสง ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. สมัยที่ 2 หลังจากทำหน้าที่ไปได้ 8 เดือน กกต.ประกาศให้ใบเหลืองและจัดเลือกตั้งใหม่ นายธีรพันธ์ เป็นฝ่ายชนะได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แทน

ปี พ.ศ. 2549 มีการยุบสภา นายประแสงได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในนามพรรคไทยรักไทย ได้รับเลือกตั้งและกกต.ให้การรับรองเป็น ส.ส.อุทัยธานีอีกเป็นสมัยที่ 3 แต่ต่อมาศาลปกครองมีคำสั่งให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะทั้งหมดทั่วประเทศ ด้วยสาเหตุที่กกต.จัดให้หันคูหากาบัตรออกด้านนอก มีเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองขับไล่นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร กระทั่งมีการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 2549 เขาจึงกลับไปเป็นอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยอีกครั้งที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ปี พ.ศ. 2550 หลังจากพรรคไทยรักไทยถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค นายประแสงจึงลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ในสังกัดพรรคพลังประชาชนที่มี นาย สมัคร สุนทรเวช เป็นหัวหน้าพรรค แต่ถูกข้อกล่าวหาให้ถูกเพิกถอนสิทธิ์ (ใบแดง) ก่อนการหย่อนบัตรลงคะแนน เนื่องจากใช้ภาพและเสียงของ ทักษิณ ชินวัตร ในการหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่ง กกต. ได้มีมติห้ามไว้ก่อนหน้านั้น[4]

ปี 2551-2553 เป็นผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร และได้เข้าร่วมกับ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เคลื่อนไหวทางการเมืองร่วมกับคนเสื้อแดง (Red Shirt) เป็นผู้ประสานงานภาคเหนือ นำคนเสื้อแดงภาคเหนือเดินทางเข้าร่วม การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 แต่ต้องยุติการชุมนุมเมื่อรัฐบาลใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปราม มีผู้เสียชีวิตไปกว่า 99 คน นายประแสงจึงทำหน้าที่ รักษาการเลขาธิการ นปช. ปี 2553-2554 แทนนาย ณัฐวุฒิ ใสเกื้อ เลขาธิการ นปช. ซึ่งถูกคุมขังและดำเนินคดีข้อหาก่อการร้าย

ปี 2554 พรรคพลังประชาชนถูกยุบ เขาลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในนามพรรคเพื่อไทยในบัญชีรายชื่อลำดับที่83 และต่อมาได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ /ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา)ในปี 2555 ในช่วงปลายรัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในปี 2556[5]

กันยายน-ตุลาคม 2556 นายประแสง ได้ร่วมกับ นปช. เคลื่อนไหวคัดค้านการออกกฎหมายพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมของพรรคเพื่อไทย "พ.ร.บ.เหมาเข่ง (สุดซอย)" เกิดความขัดแย้งระหว่างพรรคเพื่อไทยกับ นปช. กระทั่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ปลดจากเขาตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายประแสงจึงขอลาออกจากพรรคเพื่อไทย

ปี 2556 เขาได้ร่วมกับแกนนำ นปช.ในต่างจังหวัดจัดตั้งพรรคการเมืองโดยใช้ชื่อว่า พรรคพลังประชาธิปไตย[6] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 นายประแสงได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 7[7] ซึ่งเป็นลำดับสุดท้าย ต่อมามีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ

ปี 2557 มีวิกฤตทางการเมือง การชุมนุมขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นำโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นำไปสู่การรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะผู้รักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นายประแสงถูกทหารจับกุมตัวจากเวทีชุมนุมคนเสื้อแดง นปช.บริเวณถนนอักษะ พุทธมณฑล ไปคุมขังไว้ที่ เรือนจำมณฑลทหารบกที่ 11 นครปฐม เมื่อครบกำหนดเวลา 7 วันตามกฎอัยการศึก คสช.จึงปล่อยตัวให้ได้รับอิสรภาพ [8]

ใกล้เคียง

ประแสง มงคลศิริ ประสาทสัมผัส ประเสริฐ รุจิรวงศ์ ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ ประสบการณ์ผิดธรรมดา ประสงค์ สุ่นศิริ ประเสริฐ จันทรรวงทอง ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประสาทสมอง ประเสริฐ ณ นคร

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประแสง_มงคลศิริ http://prachatai.com/journal/2013/12/50435 http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?Ne... http://www.moe.go.th/websm/minister/prasaeng.htm http://www.senate.go.th/w3c/senate/comm.php?url=co... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/... https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=... https://www.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/pages/vi...