พฤติกรรม ของ ปลากระโทงสีน้ำเงิน

มีพฤติกรรมและการกระจายพันธุ์เหมือนกับปลากระโทงชนิดอื่น ๆ คือ หากินตามผิวน้ำในเขตร้อนหรือเขตอบอุ่นตามทะเลเปิดหรือมหาสมุทรขนาดใหญ่ทั่วโลก มีการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ในแต่ละฤดูกาล โดยล่าปลาและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร เช่น ปลาแมคเคอเรล, ปลาทูน่า หรือหมึก ขณะเดียวกันก็อาจตกเป็นอาหารของปลาล่าเหยื่อขนาดใหญ่ได้เช่นกัน เช่น ปลาฉลามมาโกครีบสั้น และปลาฉลามขาว[7]

เดิมที ปลากระโทงสีน้ำเงินถูกจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ ปลากระโทงสีน้ำเงินแอตแลนติก ที่พบในมหาสมุทรแอตแลนติก กับ ปลากระโทงสีน้ำเงินอินโด-แปซิฟิก (M. mazara[8]) ที่พบในมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย แต่จากการศึกษาล่าสุดพบว่า แม้ประชากรของ 2 จำพวกนี้แยกออกจากกัน แต่ก็จัดเป็นชนิดเดียวกัน[8] เพราะมีสายพันธุกรรมเหมือนกัน เชื่อว่าประชากรของปลากระโทงสีน้ำเงินทั้ง 2 ถิ่นนี้มีการแลกเปลี่ยนสายพันธุกรรมซึ่งกันและกัน[9][10]

โครงกระดูกเนื้อปลาขนาด 8 ออนซ์ (230 กรัม)

นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา เนื่องจากเป็นปลาขนาดใหญ่ และต่อสู้กับเบ็ดได้อย่างสนุก ผู้ตกต้องยื้อสู้กับปลาบนเรีอเป็นเวลานาน ซึ่งอาจจะใช้เวลานานหลายชั่วโมง หรือกว่าครึ่งค่อนวัน อีกทั้งเนื้อก็นิยมบริโภค โดยนิยมนำมาปรุงเป็นซาซิมิในอาหารญี่ปุ่น และถูกเรียกกันในฮาวายว่า "อา'ฮู" (a'u[11]) มีรายงานปริมาณการบริโภคทั่วโลกถึง 3,064 เมตริกตัน ในปี ค.ศ. 2000[12]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปลากระโทงสีน้ำเงิน http://www.blackwell-synergy.com/links/doi/10.1046... http://www.fooduniversity.com/foodu/seafood_c/reso... http://books.google.com/?id=3lCQPKCUUf4C&pg=PA1576... http://www.lawwebservice.com/lawsearch/AcharnJumpo... http://zipcodezoo.com/Animals/M/Makaira_nigricans/... http://animaldiversity.ummz.umich.edu/site/account... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11380876 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21148885 http://www.indo-european.nl/cgi-bin/response.cgi?r... //doi.org/10.1046%2Fj.1365-294X.2001.01270.x