นิเวศวิทยา ของ ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน

ในแถบลุ่มแม่น้ำสาละวินนี้ เป็นที่อยู่ของชนชาติพันธุ์หลากหลาย ส่วนใหญ่จะเป็นชาวกะเหรี่ยง, ชาวไทยใหญ่ และชาวมอญ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 ได้มีการศึกษาวิจัยของชาวกะเหรี่ยงเผ่าปกาเกอะญอในพื้นที่เกี่ยวกับระบบนิเวศวิทยาของพื้นที่ลุ่มแม่น้ำสาละวิน ตั้งแต่บริเวณเขตอำเภอแม่สะเรียงจนถึงอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบชนิดปลาประมาณ 70 ชนิด แบ่งเป็นปลาหนัง 22 ชนิด และปลามีเกล็ด 48 ชนิด โดยที่มีภาษาท้องถิ่นเรียกปลาว่า "หยะ"

พบว่าในช่วงฤดูฝนที่น้ำในลุ่มแม่น้ำสาละวินเอ่อล้น ในราวเดือนพฤษภาคมฝูงปลาจะอพยพขึ้นไปตามลำน้ำสาขาต่าง ๆ เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ ในช่วงต้นฤดูหนาวราวเดือนตุลาคม ปลาจะเริ่มอพยพเดินทางลง และปลาบางชนิดก็จะวางไข่ เช่น "หยะโม" (ปลาพลวง) ในขณะที่ปลาบางชนิด เช่น "หยะที" (ปลาสะแงะ) เป็นปลาที่เดินทางไกลมาก โดยมาจากทะเลอันดามันมาสู่ลุ่มแม่น้ำสาละวิน หยะทีจะวางไข่ในทะเลและกลับมาเจริญเติบโตในน้ำจืด สภาพน้ำที่หยะทีจะอาศัยต้องเป็นน้ำสะอาด ไม่มีมลพิษ ในแหล่งน้ำใดที่มีการใช้สารเคมี จะไม่พบหยะทีอีกเลย

โดยช่วงเวลาที่ปลาวางไข่มากที่สุดจะมี 3 ช่วง คือ ช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน, ช่วงกลางฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม และช่วงต้นฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม

โดยปลามีถิ่นที่อยู่ที่หลากหลายสภาพทั้งแก่ง, เกาะ, พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ , หาด รวมถึงบริเวณที่เป็นวังน้ำลึก [3]

ใกล้เคียง

ปลาที่มีก้านครีบ ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ปลาที่มีครีบเป็นพู่ ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล ปลาที-บาร์บ ปลาทอง ปลาทะเลลึก