ปลาที่มีครีบเป็นพู่
ปลาที่มีครีบเป็นพู่

ปลาที่มีครีบเป็นพู่

ปลาที่มีครีบเป็นพู่ หรือ ปลาครีบเป็นพู่ (อังกฤษ: Lobe-finned fishes) เป็นปลาที่อยู่ในชั้นใหญ่ Sarcopterygii (มาจากภาษากรีกคำว่า σαρξ (sarx), "เนื้อ" และ πτερυξ (pteryx), "ครีบ") หรือในบางครั้งอาจใช้ชื่อว่า Crossopterygii (แปลว่า "Fringe-finned fish", มาจากภาษากรีก κροσσός krossos, "ชายขอบ") เป็นปลาที่มีลักษณะแตกต่างจากปลาในชั้นอื่น ๆ คือ มีเกล็ดเป็นแบบ Cosmoid มีลักษณะเฉพาะ คือ ครีบที่บริเวณหน้าอกวิวัฒนาการจากครีบธรรมดา ๆ มาเป็นเสมือนอวัยวะที่ใช้เคลื่อนไหวได้เหมือนการเดินในน้ำ โดยลักษณะของครีบจะเป็นพู่เนื้อหรือเนื้อเยื่อ มีความแข็งแรงมาก โดยมีแกนกระดูก จึงเป็นเสมือนรอยต่อของการวิวัฒนาการของปลาซึ่งเป็นสัตว์น้ำอาศัยอยู่ในน้ำได้อย่างเดียว ขึ้นมาอยู่บนบกกลายเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำก่อนจะวิวัฒนาการเป็นสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ในชั้นอื่น ๆ ต่อไปปลาที่มีครีบเป็นพู่ ถือกำเนิดมาในยุคซิลูเรียนตอนปลาย (418 ล้านปีก่อน) ในทะเลและค่อยคืบคลานสู่แหล่งน้ำจืดที่มีลักษณะเป็นหนองหรือคลองบึง สันนิษฐานว่าการที่พัฒนาเช่นนี้ คงเป็นเพราะต้องการหนีจากปลาที่เป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ที่ครองพื้นที่ทะเลในขณะนั้น เช่น ดังเคิลออสเตียส เป็นต้นปัจจุบัน ปลาในชั้นนี้ได้สูญพันธุ์หมดแล้ว คงเหลือไว้เพียง 2 จำพวกเท่านั้น คือ ปลาซีลาแคนท์ ที่ครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว กับปลาปอด ที่กลายมาเป็นปลาน้ำจืดอย่างถาวร และได้มีพัฒนาถุงลมที่ใช้ในการว่ายน้ำและทรงตัวเหมือนปลาทั่วไป กลายเป็นอวัยวะที่ใช้ในการหายใจคล้ายกับปอดของสัตว์บก สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เป็นอย่างดี จึงทำให้อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่คุณภาพน้ำแย่ มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้[1]

ใกล้เคียง

ปลาที่มีก้านครีบ ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ปลาที่มีครีบเป็นพู่ ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล ปลาที-บาร์บ ปลายี่สก ปลาทู