ปลาเศรษฐกิจ ของ ปลานิล

ปลาทับทิม

การเพาะพันธุ์ปลานิลในประเทศไทยเริ่มมีการบันทึกสถิติในปี พ.ศ. 2517 นับจากนั้นมา ปลานิลหน้าฟาร์มได้สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรไม่น้อยกว่า 107,000 ล้านบาท จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีการผลิตปลานิลไม่น้อยกว่า 220,000 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าหน้าฟาร์ม 12,000 ล้านบาท ปลานิลยังเป็นปลาน้ำจืดเพื่อการส่งออกที่มีศักยภาพสูงกว่าปลาชนิดอื่น นอกจากนี้แล้ว ปลานิลยังเป็นปลาที่ชาวไทยบริโภคกันมากที่สุดแล้ว ยังทำให้เกิดการมีงานทำแก่ประชาชนมากกว่าล้านคนในฟาร์มปลานิลที่มีอยู่ไม่ต่ำกว่า 300,000 แห่งทั่วประเทศ

ในปัจจุบัน ประเทศไทยยังส่งออกปลานิลไปยังตลาดต่างประเทศทั้งในยุโรป, ตะวันออกกลาง, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย และเอเชีย ในปี พ.ศ. 2551 ตลาดสหภาพยุโรปกลายเป็นตลาดอันดับ 1 ของปลานิล คิดเป็นปริมาณส่งออก 7,758.98 ตัน รองลงมาคือ ประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง มีปริมาณการส่งออก 5,583.91 ตัน ส่วนตลาดสหรัฐฯอยู่ในลำดับที่ 3 มีปริมาณ 4,786.27 ตัน คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกปลานิลไทยไปยังประเทศต่างๆในสหภาพยุโรปมากที่สุดถึงร้อยละ 40 รองลงมาคือ สหรัฐฯร้อยละ 37 ส่วนประเทศในแถบตะวันออกกลางมีสัดส่วนราวร้อยละ 15 ของการส่งออกรวม โดยทำการส่งออกทั้งหลายรูปแบบทั้งปลานิลสด, ปลานิลที่ยังมีชีวิต และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

ในปี พ.ศ. 2549 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) รายงานว่า ประเทศไทยสามารถผลิตปลานิลได้เป็นอันดับที่ 4 ของภูมิภาคเอเชีย รองลงมาจากประเทศจีน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย[3]

การพัฒนาสายพันธุ์