ปลาปักเป้าดำ
ปลาปักเป้าดำ

ปลาปักเป้าดำ

ปลาปักเป้าดำ ปลาปักเป้าน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pao cochinchinensis[2] อยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 8 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 13 เซนติเมตร รูปร่างกลมป้อม หัวท้ายเรียว ปากเล็ก ตาโต ด้านหลังและด้านท้องมีผิวสากเป็นหนามเล็กละเอียด ด้านท้องนิ่มขยายตัวได้มาก ครีบหลังเล็กเช่นเดียวกับครีบก้น ลำตัวสีเขียวอมเทาคล้ำหรือสีน้ำตาลเข้ม มีดวงหรือลายสีดำประทั่วตัว บางตัวอาจมีสีจางที่ด้านท้อง ตาแดง ครีบสีจางอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำขนาดใหญ่ กินหอย, กุ้ง, ปู และปลาตัวเล็ก ๆ โดยใช้ปากขบกัดได้ดี จัดเป็นปลาปักเป้าน้ำจืดที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย เป็นปลาที่ว่ายน้ำค่อนข้างช้าโดยใช้ครีบหลังและครีบก้นโบกไปมา อาศัยในบริเวณที่มีพืชน้ำขึ้นหนาแน่น บางครั้งพบว่าตอดกัดคนที่ลงเล่นน้ำในบริเวณที่หลบซ่อนอยู่ด้วย บริโภคโดยการนำมาทำเป็นปลาร้า, ปลาเค็ม แม้ว่าจะมีพิษในตัวก็ตาม แต่ในบางพื้นที่เช่นที่เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ก็ยังมีการบริโภคอยู่ โดยต้องถลกหนังและเครื่องในออกอย่างระมัดระวังในหลายแหล่งโดยเฉพาะจากแหล่งน้ำนิ่งมักพบการเกิดพิษ (เตโตรโดท็อกซิน) ของปลาชนิดนี้ ตั้งแต่เบื่อเมาจนถึงแก่ความตาย ยิ่งในฤดูผสมพันธุ์จะมีกลไกการเกิดพิษจากอาหารและเชื้อจุลินทรีย์ที่ปลากินเข้าไปรุนแรงยิ่งขึ้น[3]นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วยอนึ่ง ปลาปักเป้าดำในบางข้อมูล จะใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tetraodon leiurus ซึ่งปลาปักเป้าชนิดนี้จากการศึกษาเพิ่มเติม พบว่ามีการกระจายพันธุ์อยู่บนเกาะชวา ในประเทศอินโดนีเซีย และเป็นคนปลาคนละชนิดกัน [4]

ใกล้เคียง

ปลาปักเป้าจุดดำ ปลาปักเป้าแคระ ปลาปักเป้ายักษ์ ปลาปักเป้าจมูกแหลม ปลาปักเป้าหนามทุเรียน ปลาปักเป้าขน ปลาปักเป้าอ้วน ปลาปักเป้าทอง ปลาปักเป้าดำ ปลาปักเป้ากล่องเหลืองลายจุดดำ