ประวัติศาสตร์ ของ ปอดบวม

โปสเตอร์ของ WPA ช่วง ค.ศ. 1936/1937

ปอดบวมเป็นโรคที่พบได้บ่อยและมีการบันทึกมาตลอดประวัติศาสตร์มนุษย์[8] มีการบรรยายอาการของโรคเอาไว้ตั้งแต่ช่วงหลายร้อยปีก่อนคริสตกาลโดยฮิปโปคราเตส (c. 460 BC - 370 BC)[8] ว่า "สามารถสังเกตเห็นผลที่เกิดกับเนื้อรอบปอดบวมและเยื่อหุ้มปอดได้ อาจมีไข้อย่างเฉียบพลัน มีอาการเจ็บทรวงอกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง มีอาการไอ มีเสมหะสีเหลืองหรือไม่มีสี หรือพบมีเสมหะเหลว หรือเป็นฟอง หรือมีสีแดง หรือลักษณะอื่นๆ ที่แตกต่างจากเสมหะปกติ หากเป็นมากเสียแล้วโรคนี้ไม่อาจรักษาได้ จะยิ่งแย่หากมีอาการเหนื่อย ปัสสาวะออกน้อยหรือมีกลิ่นแรง หากมีเหงื่อออกที่ศีรษะหรือที่คอนั้นยิ่งแย่ อาจกำเริบมากขึ้นจนหายใจไม่ออก หายใจมีเสียงกรอบแกรบ แสดงว่าโรคในระยะนั้นเป็นมากจนไม่อาจย้อนกลับได้แล้ว"[9][10] อย่างไรก็ดีแม้ฮิปโปคราเตสก็ยังระบุว่าปอดบวมเป็นโรคที่ "เป็นที่รู้จักมาแต่โบราณ" และยังบรรยายวิธีการระบายหนองออกจากทรวงอกเอาไว้ด้วย ไมโมนิเดส (1134-1204 AD) ได้บรรยายอาการของปอดบวมเอาไว้ว่า "อาการพื้นฐานของผู้ป่วยปอดบวมซึ่งต้องมีเสมอ คือ มีไข้ เจ็บสีข้าง หายใจสั้นเร็ว ชีพจรถี่ และไอ"[11][12] คำบรรยายอาการเช่นนี้คล้ายคลึงกับที่เขียนไว้ในตำราแพทย์สมัยใหม่ และสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาของวิชาแพทย์จากสมัยกลางจนถึงศตวรรษที่ 19

มีการค้นพบแบคทีเรียในทางเดินหายใจของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากปอดบวมใน ค.ศ. 1875 โดยเอดวิน เคลบส์[13] Carl Friedländerlคาร์ล ฟรีดแลนเดอร์ ค้นพบ Streptococcus pneumoniae ใน ค.ศ. 1882[14] และอัลเบิร์ต ฟรานเคล ค้นพบ Klebsiella pneumoniae ใน ค.ศ. 1884[15] การศึกษาวิจัยในช่วงแรกของฟรีดแลนเดอร์เป็นรากฐานของการนำสีย้อมกรัมมาใช้ในการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นวิธีตรวจที่ยังมีการใช้แพร่หลายในปัจจุบัน บทความวิจัยของคริสเตียน กรัม ได้บรรยายวิธีการย้อมสีเช่นนี้เอาไว้ใน ค.ศ. 1884 ว่าสามารถแยกแบคทีเรียออกได้เป็น 2 กลุ่ม แสดงให้เห็นว่าปอดบวมอาจมีเชื้อก่อโรคมากกว่าหนึ่งชนิด[16]

เซอร์วิลเลียม ออสเลอร์ ผู้เป็นบิดาของการแพทย์สมัยใหม่ รู้ซึ้งดีถึงความตายและความพิการที่เกิดจากปอดบวม จนขนานนามปอดบวมว่าเป็น "นายแห่งสาเหตุการเสียชีวิตของมนุษย์" ("captain of the men of death") เอาไว้ใน ค.ศ.1918 จากการที่ในช่วงนั้นอัตราการเสียชีวิตของปอดบวมมีมากเหนือกว่าวัณโรค วลีนี้เสนอใช้ครั้งแรกโดยจอห์น บันแยน ในการอ้างถึงวัณโรค[17][18] นอกจากนี้ออสเลอร์ยังบรรยายว่าปอดบวมเป็น "เพื่อนของคนแก่" ("the old men's friend") ด้วยเห็นว่าปอดบวมทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็วและไม่เจ็บปวด ในขณะที่ช่วงเวลานั้นยังมีสาเหตุการเสียชีวิตอื่นๆ ที่เจ็บปวดทรมานและใช้เวลานานกว่ามาก[19]

ในศตวรรษที่ 19 มีการพัฒนาทางการแพทย์มากมายที่ทำให้ผลการรักษาปอดบวมดีขึ้นอย่างมาก จากการประดิษฐ์เพนนิซิลลินและยาปฏิชีวนะอื่นๆ เทคนิกการผ่าตัดสมัยใหม่ และการพัฒนาเวชบำบัดวิกฤตในศตวรรษที่ 20 อัตราการตายของปอดบวมในประเทศพัฒนาแล้วที่เคยสูงถึง 30% ได้ลดลงอย่างมาก ค.ศ. 1988 เริ่มมีโครงการเสริมภูมิคุ้มกัน Haemophilus influenzae ชนิด B แก่ทารก ทำให้จำนวนผู้ป่วยปอดบวมยิ่งลดลงไปอีก[20] การให้วัคซีนต่อ Streptococcus pneumoniae ในผู้ใหญ่ที่เริ่มใน ค.ศ. 1977 และในเด็กที่เริ่มใน ค.ศ. 2000 ก็ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยลดลงในลักษณะเดียวกัน[21]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปอดบวม http://www.diseasesdatabase.com/ddb10166.htm http://books.google.com/books?id=G6k0tpPMRsIC&pg=P... http://books.google.com/books?id=j-eYLc1BA3oC&pg=P... http://books.google.com/books?lr=&id=JLTgoEc9QOAC&... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=480 http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=486 http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=770.... http://search.medscape.com/emedicine-search?queryT... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12724479 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8417239