กายวิภาคศาสตร์ ของ ปะการัง

กายวิภาคศาสตร์ของโปลิพปะการัง

หัวปะการังดูเหมือนจะเป็นสิ่งมีชีวิตเดี่ยว ๆ แต่ที่แท้จริงแล้วมันประกอบไปด้วยโพลิฟเดี่ยว ๆ มากมาย โพลิฟเป็นเนื้อเยื่ออ่อนของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่กินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่หลากหลายเป็นอาหารจำพวกแพลงตอนขนาดเล็กจนไปถึงปลาตัวเล็ก ๆ

ปรกติแล้วโพลิฟจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่กี่มิลลิเมตร ด้านนอกเป็นชั้นผนังอีพิเธลเลียม ส่วนด้านในเป็นเนื้อเยื่อคล้ายวุ้นที่รู้จักกันว่าเมโซกลี โพลิฟมีสมมาตรรัศมีและมีหนวดโดยรอบช่องปากที่อยู่ตรงกลางที่เปิดต่อเนื่องไปที่กระเพาะอาหารหรือซีเลนเทอรอนไปยังที่อาหารถูกย่อยและปล่อยของเสีย

กระเพาะอาหารติดอยู่ที่ฐานของโพลิฟบริเวณที่ซึ่งผนังชั้นนอก (อีพิเธลเลียม) สร้างโครงสร้างแข็งภายนอกขึ้นมาอันหนึ่งเรียกว่าแผ่นฐานรอง (แคลลิเคิล) (L. ถ้วยเล็ก ๆ) ซึ่งเกิดจากวงแหวนเนื้อปูนหนาๆมีสันตามแนวรัศมีรองรับอยู่ 6 สัน โครงสร้างนี้มีการเติบโตขึ้นไปในแนวดิ่งเข้าไปยังฐานรองของโพลิฟ เมื่อโพลิฟทั้งหลายตกอยู่ในสภาพที่เครียดก็จะเกิดการหดตัวเป็นคาริกซ์ เพื่อที่จะได้ไม่มีส่วนใด ๆ โผล่ขึ้นมาเหนือแท่นโครงสร้างแข็งอันเป็นการป้องกันโพลิบทั้งหลายจากเหล่านักล่า (Barnes, R.D., 1987; Sumich, 1996).[3][4]โพลิฟจะเจริญเติบโตขึ้นโดยการขยายตัวของกลีบห่อหุ้มในแนวดิ่งซึ่งบางครั้งก็ถูกกั้นด้วยแผ่นผนังเกิดเป็นแผ่นฐานอันใหม่ที่สูงกว่า การขยายตัวนี้เกิดขึ้นหลาย ๆ รุ่นทำให้เกิดโครงสร้างเนื้อปูนขนาดใหญ่ของปะการังและแนวปะการังทั้งหลาย

การเกิดโครงสร้างแข็งเนื้อปูนด้านนอกเกิดจากการตกสะสมตัวของแร่อะราโกไนต์ โดยโพลิฟทำหน้าที่จับไอออนของแคลเซี่ยมจากน้ำทะเลให้ทำปฏิกิริยากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากสาหร่าย อัตราการตกสะสมตัวมีความแปรผันอย่างมากในระหว่างชนิดพันธุ์และสภาพสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่อาจจะมากถึง 10 กรัม/ตารางเมตรของโพลิฟ/วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแสงสว่าง กล่าวคือในช่วงกลางคืนจะผลิตได้เพียงประมาณร้อยละ 90 ต่ำกว่าการผลิตในช่วงกลางวัน[5]

การปล่อยเข็มพิษ: เข็มพิษที่แฝงอยู่ได้ตอบสนองเหยื่อบริเวณใกล้ๆที่เข้ามาสัมผัสกับขนรับความรู้สึก ปากก็จะเปิดออกและใช้เงี่ยงของมันทิ่มเข้าไปที่เหยื่อปล่อยให้เส้นใยกลวงพ่นพิษเข้าไปทำให้เหยื่อสลบ จากนั้นจะใช้หนวดจับเหยื่อเข้าปาก

หนวดทั้งหลายของโพลิฟจะทำการจับเหยื่อโดยการใช้เซลล์ที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองแสบร้อนที่เรียกว่าเข็มพิษ มีเซลล์หลายชนิดที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อการจับเหยื่อและทำให้เหยื่อสลบอย่างเช่นแพลงตอนด้วยการพ่นพิษอย่างเร็วมากเมื่อมีสิ่งเข้าไปสัมผัส พิษเหล่านี้ปรกติจะมีฤทธิ์อ่อน ๆ แต่ถ้าเป็นปะการังไฟแล้วจะมีผลต่อมนุษย์มากพอควร เข็มพิษลักษณะนี้ก็พบได้ในแมงกระพุนและดอกไม้ทะเล สารพิษที่ฉีดโดยเข็มพิษจะทำให้เหยื่อสลบหรือตายซึ่งก็จะตกเข้าไปในกระเพาของโพลิฟด้วยการช่วยของหนวดผ่านแถบของอีพิเธเลียมที่หดตัวได้เรียกว่าคอหอย

โพลิฟทั้งหลายถูกต่อเชื่อมโยงใยโดยระบบท่อแกสโตรวาสคิวล่าที่พัฒนาขึ้นมาอย่างดีและมีความสลับซับซ้อนที่ทำให้โพลิบต่าง ๆ มีการใช้อาหารและการพึ่งพาอาศัยร่วมกันได้ ในปะการังอ่อนระบบท่อเหล่านี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 50-500 ไมครอน ที่ยอมให้เกิดการส่งผ่านทั้งการสันดาปและส่วนประกอบของเซลล์[6]

ภาพระยะใกล้ของโพลิฟ Montastrea cavernosa ที่เห็นหนวดของมันได้อย่างชัดเจน

นอกเหนือจากการกินแพลงตอนเป็นอาหารแล้ว ปะการังจำนวนมากและรวมถึงกลุ่มของไนดาเรียอื่นๆอย่างเช่นดอกไม้ทะเล (เช่น เออิพเทเซีย) ที่มีการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกับพวกสาหร่ายซูแซนทาลีสกุลซิมไบโอดิเนียม ดอกไม้ทะเลสกุลเออิพเทเซียที่จะถูกพิจารณาว่าเป็นสิ่งรบกวนต่อสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังแต่ก็ถือว่าเป็นแบบจำลองสิ่งมีชีวิตที่มีค่ายิ่งในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ถึงการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างกลุ่มของไนดาเรียกับสาหร่าย ทั้งนี้โพลิฟหนึ่ง ๆ จะพึ่งพาอาศัยกับสาหร่ายเฉพาะชนิดเท่านั้น[7]การสังเคราะห์แสงของสาหร่ายให้พลังงานแก่ปะการังและช่วยให้เกิดการตกตะกอนของสารแคลเซียมคาร์บอเนต สาหร่ายยังมีประโยชน์ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยด้วยการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียที่มีองค์ประกอบของไนโตรเจนที่สร้างขึ้นมาโดยโพลิฟ เมื่อปะการังคลายความเครียดสาหร่ายสามารถเข้าไปในโพลิฟได้ สภาพที่ปะการังตกอยู่ในความเครียดปรกติแล้วจะขับสาหร่ายออกมาที่ยังผลก่อให้เกิดปรากฏการที่เรียกว่าการฟอกขาวของปะการังที่สาหร่ายทำให้ปะการังมีสีน้ำตาลหรือสีอื่น ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเม็ดสีในเนื้อปะการัง อย่างเช่นโปรตีนเรืองแสงสีเขียว การขับสาหร่ายออกจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้โพลิฟตกอยู่ในระยะที่เครียดต่อไป โดยที่สามารถจะเพิ่มสาหร่ายได้ใหม่ในภายหลัง หากสภาพเครียดยังคงดำเนินต่อไป โพลิฟหรือปะการังทั้งหลายก็จะตายไปในที่สุด[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปะการัง http://www.sbg.ac.at/ipk/avstudio/pierofun/png/png... http://www.amazon.com/Book-Coral-Propagation-Garde... http://dict.longdo.com/index.php?lang=en&search=*%... http://www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleUR... http://www.ucmp.berkeley.edu/cnidaria/anthozoafr.h... http://www.stanford.edu/group/microdocs/ http://www.stanford.edu/group/microdocs/whatisacor... http://www.usm.edu/marineeducation/old/coralreef/i... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11751248 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11951026