ปัญจตันตระ
ปัญจตันตระ

ปัญจตันตระ

ปัญจตันตระ (อังกฤษ: Pancatantra[1][2][3][4]; ภาษาสันสกฤต: पञ्चतन्त्र) เป็นนิทานโบราณของอินเดีย คาดว่ามีต้นกำเนิดที่แคชเมียร์เมื่อ พ.ศ. 343 เขียนด้วยภาษาสันสกฤต ได้รับอิทธิพลจากนิทานชาดกของพุทธศาสนา มีการแปลเป็นภาษาต่างๆมาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น แปลเป็นภาษาอาหรับเมื่อราว พ.ศ. 1400 ต่อมาจึงแปลไปเป็นภาษาละติน ภาษาฮีบรู ภาษากรีก และภาษาอื่นๆในยุโรป ส่วนฉบับภาษาอังกฤษนั้นตั้งชื่อใหม่ว่า นิทานของปิลเป (Pilpay's Fable) ส่วนปัญจตันตระฉบับภาษาไทยแปลจากฉบับภาษาอังกฤษโดยศักดา วิมลจันทร์รูปแบบอื่นๆของปัญจตันตระ ได้แก่ Tantrākhyāyikā[5] (สันสกฤต: तन्त्राख्यायिका) หรือKalīlah wa Dimnah (อาหรับ: كليلة و دمنة‎) หรือ Kalila and Dimna[6] (เปอร์เซีย: کلیله و دمنه‎) Kalīleh o Demneh หรือ Anvār-e Soheylī[7][8][9] (เปอร์เซีย: انوار سهیلی‎, 'The Lights of Canopus') หรือ Kalilag and Damnag[10] (ภาษาซีเรียค) หรือ Kalīlah wa Dimnah[11][12] หรือ The Fables of Bidpai[13][14] (หรือปอลไปในภาษาในยุโรปหลายภาษา) หรือ The Morall Philosophie of Doni [15]นิทานปัญจตันตระเป็นนิทานซ้อนนิทานซึ่งเป็นลักษณะที่พบบ่อยในวรรณคดีภาษาสันสกฤต ลักษณะเดียวกับนิทานเวตาลและกถาสริตสาคร เนื้อหาของปัญจตันตระคล้ายหิโตปเทศ โดยหิโตปเทศแบ่งย่อยเป็นสี่เล่ม ส่วนปัญจตันตระแบ่งย่อยเป็น 5 เล่ม โครงเรื่องหลักคือเป็นการรวบรวมเรื่องราวเพื่อให้เจ้าชายที่โง่เขลาได้เรียนรู้ให้เข้าใจโดยรวดเร็ว เรื่องย่อยของปัญจตันตระ ได้แก่อย่างไรก็ตาม เมื่อดูตามหลักฐานบทแปลที่เก่าแก่ที่สุดที่เหลืออยู่ นิทานปัญจตันตระเคยมีถึง 12 เล่ม เมื่อมีการแก้ไขตัดตอนกันต่อๆมาจึงเหลือเท่าที่มีในปัจจุบัน