ปันตุน

ปันตุน (มลายูและอินโดนีเซีย: pantun; มลายูปัตตานี: ปาตง) หรือ บันตน เป็นรูปแบบของวรรณกรรมพื้นบ้านที่พบทั่วไปในภาษามลายูทั้งภาษามาตรฐานและภาษาถิ่น เริ่มจากเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะก่อน แล้วจึงเริ่มมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรราวพุทธศตวรรษที่ 20 ในพงศาวดารของมาเลเซียและวรรณกรรม ฮีกายัตฮังตัวะฮ์ โครงสร้างของปันตุนประกอบด้วย 2 ส่วนคือ เปิมบายัง (pembayang) หรือเงาแห่งความหมาย กล่าวถึงสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่สื่อถึงความหมายเชิงวัฒนธรรม พบในส่วนครึ่งแรกของปันตุน กับ มักซุด (maksud) แปลว่าความหมาย เป็นเนื้อหาหลักที่ต้องการให้ผู้ฟังเข้าใจ พบในครึ่งหลังของปันตุนลักษณะของปันตุนประกอบด้วยข้อความที่เป็นอิสระ จัดวางเป็นวรรคขนานกันเป็นคู่ ๆ แต่ละวรรคประกอบด้วยคำพื้นฐาน 4 คำ ซึ่งอาจเติมหน่วยคำเพิ่ม โดยทั่วไปจึงมี 5–10 พยางค์ สัมผัสสระเป็นแบบ a-b-a-b หรือ a-a-a-a (แบบกลอนหัวเดียว) ตัวอย่างปันตุนภาษามลายู

ปันตุน

รายการ ตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
ประเทศ  มาเลเซีย
 อินโดนีเซีย
เกณฑ์พิจารณา R.1, R.2, R.3, R.4, R.5
อ้างอิง 01613
ขึ้นทะเบียน 2563 (คณะกรรมการสมัยที่ 15)
ภูมิภาค ** เอเชียและแปซิฟิก
สาขา ธรรมเนียมและการแสดงออกทางมุขปาฐะ, ศิลปะการแสดง, แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล, ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล