แอปพลิเคชันที่มาพร้อมระบบปฏิบัติการปาล์มโอเอส ของ ปาล์มโอเอส

ปาล์มโอเอสมาพร้อมแอปพลิเคชันซึ่งมีอยู่ในเครื่องมือถือปาล์ม บางครั้งผู้ผลิตอาจทำการดัดแปลงและแอปพลิเคชันเหล่านี้ นี่คือส่วนหนึ่งของแอปพลิเคชันโดยปาล์มซอร์สที่มาพร้อมปาล์มโอเอส:

สมุดบันทึกที่อยู่ (Address Book/Contacts)

โปรแกรมบันทึกที่อยู่ของปาล์มสามารถจัดเก็บข้อมุลส่วนตัวและแสดงโดยเรียงตามลำดับชื่อจริง ชื่อสกุล หรือตามชื่อบริษัทและชื่อสกุลก็ได้ มีช่องห้าช่องสำหรับโทรศัพท์และอีเมลซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามการใช้งาน เช่น ที่ทำงาน ที่บ้าน แฟกซ์ อื่นๆ อีเมล เพเจอร์ หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น

ตั้งแต่รุ่น 5.2.1 ใน ทังสเตน ที 3 และ ทังสเตน อี รุ่นดัดแปลงของโปรแกรมนี้ได้ออกมา รุ่นนี้ไม่ได้ทำโดยปาล์มซอร์ส แต่ทำโดยปาล์มอิงค์

เว็บเบราว์เซอร์ เบลเซอร์ (Blazer)

เบลเซอร์เป็นเว็บเบราว์เซอร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือปาล์ม รุ่นที่ 1.0 และ 2.0 ทำงานบนปาล์มโอเอสรุ่น 3.1 หรือสูงกว่า แต่ต้องการการเชื่อมต่อผ่านพรอกซี่เซอเวอร์จึงทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากนัก รุ่นที่ 3.0 ใช้กับเครื่อง ทรีโอ 600 รุ่นปัจจุบันของเบลเซอร์คือรุ่น 4.3 ซึ่งทำงานได้เหมือนเบราว์เซอร์ทั่วไป

เครื่องคิดเลข (Calculator)

เครื่องคิดเลขบนปาล์มนั้นสามารถทำงานได้เหมือนกับเครื่องคิดเลขมาตรฐานพร้อมฟังก์ชันการถอดรากที่สองและหน่วยความจำขนาดเล็ก และเครื่องคิดเลขบนปาล์มยังสามารถพิมพ์ประวัติการใช้งานได้อีกด้วย

ตั้งแต่ปาล์มโอเอสรุ่น 5.4 การ์เนต เครื่องคิดเลขได้เพิ่มโหมดผู้ใช้ขั้นสูงซึ่งสามารถคำนวณได้หลากหลายยิ่งขึ้น เช่น เรขาคณิต การเงิน ตรรกศาสตร์ สถิติ น้ำหนัก พื้นที่ และปริมาตร

โปรแกรมปฏิทิน (Date Book/Calendar)

โปรแกรมปฏิทินแสดงตารางนัดหมายแบบรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือนแบบย่อๆ ในการแสดงตารางนัดหมายแบบรายวันแต่ละบรรทัดหมายถึงแต่ละช่วงเวลาเป็นชั่วโมงโดยมีเวลากำกับอยู่ที่ด้านซ้ายของบรรทัด โดยเส้นเชื่อมระหว่างเวลาบรรทัดหมายถึงเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของเหตุการณ์นั้นๆ บรรทัดที่ว่างเปล่าหมายถึงไม่มีเวลานัดหมาย และการเพิ่มนัดหมายใหม่ให้แตะที่บรรทัดที่ว่างเปล่า

การนัดหมายสามารถตั้งปลุกก่อนเวลานัดหมายตามที่กำหนดไว้ได้ และจะมีการปลุกเมื่อถึงเวลาไม่ว่าเครื่องกำลังปิดอยู่

การนัดหมายสามารถกำหนดให้เวียนกลับมาตามรอบเวลาที่กำหนดไว้ เป็นวัน เดือน สัปดาห์ หรือปีและยังสามารถใส่บันทึกไว้ได้อีกด้วย

ในปาล์มโอเอสรุ่นที่ 5.2.1 ปาล์มอิงค์ได้จัดทำโปรแกรมนี้ขึ้นมาใหม่โดยใช้ในเครื่องรุ่น ทังสเตน ที3 ทังสเตน อี ที่เพิ่มคุณสมบัติในการจัดกลุ่มให้กับแต่ละการนัดหมาย ใส่สีให้แก่การนัดหมายในแต่ละกลุ่ม และยังสามารถแสดงผลตารางนัดหมายในรูปแบบที่คล้ายกับในเครื่องวินโดวส์ โมบายล์อีกด้วย

โปรแกรมบันทึกการใช้จ่าย (Expense)

โปรแกรมนี้ใช้สำหรับการบันทึกการใช้จ่ายต่างๆ แต่ไม่สามารถคำนวณยอดรวมได้จากบนเครื่องปาล์ม ผู้ใช้ต้องทำการโอนถ่ายข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์และดูข้อมูลการใช้จ่ายจากโปรแกรมสเปรดชีท เช่น ไมโครซอฟท์เอกซ์เซล หมายเหตุ : โปรแกรมนี้ไม่ได้มีในเครื่องปาล์มทุกเครื่อง

โปรแกรมโอนถ่ายข้อมูล (HotSync)

โปรแกรมนี้มีชื่อเรียกว่า "ฮอตซิงค์ (HotSync)" มีหน้าที่ในการเชื่อมโยงข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเพื่อทำการสำรองข้อมูล โปรแกรมนี้ใช้งานโดยการกดปุ่มที่อยู่บนแท่นวางหรือสายเชื่อมโยงข้อมูลของเครื่องปาล์ม ข้อมูลจากแอปพลิเคชันต่างๆบนเครื่องปาล์มจะเชื่อมโยงกับแอปพลิเคชันนั้นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และจะทำการเพิ่มเติม แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้ตรงกัน

การสำรองข้อมูลมีประโยชน์เมื่อเครื่องปาล์มหายหรือถูกทำลายจนต้องทำการตั้งค่าเริ่มต้นใหม่ ทำให้ข้อมูลหายทั้งหมด หรือเมื่อผู้ใช้ทำการเปลี่ยนเครื่องปาล์มรุ่นใหม่ โปรแกรมนี้จะทำหน้าที่สำรองข้อมูลเพื่อนำมาจัดเก็บบนเครื่องปาล์มดังเดิม

โปรแกรมจดบันทึก (Memo Pad/Memos)

โปรแกรมจดบันทึกนี้สามารถบันทึกตัวอักษรได้ถึง 4,000 ตัวอักษร และสามารถจัดกลุ่มบันทึกได้ โดยจัดเก็บข้อมูลในรูปของตัวอักษร ไม่ใช่รูปภาพ

ตั้งแต่ปาล์มโอเอสรุ่น 5.2.1 ปาล์มอิงค์ได้จัดทำรุ่นดัดแปลงขอโปรแกรมนี้ออกมา ซึ่งสามารถใส่ข้อความได้มากถึง 32 เมกะไบต์

โน้ตแพด (Note Pad)

โน้ตแพดเป็นแอปพลิเคชันที่ใช้ในการวาดภาพ หรือเขียนบันทึกสั้นๆด้วยลายมือซึ่งที่เก็บในรูปแบบของรูปภาพจึงไม่ได้มีการแปลงลายมือให้เป็นตัวอักษร เหมาะสำหรับการบันทึกสั้นๆอย่างรวดเร็วแต่ไม่เหมาะกับการจดบันทึกยาวๆ ในหนึ่งหน้าจะสามารถจุคำได้ประมาณ 10 คำและใหญ่พอที่จะเขียนแผนที่แบบง่ายๆด้วย โดยสามารถเลือกขนาดเส้นได้สามขนาด และที่ลบสำหรับลบเส้นออก และในบางรุ่นยังสามารถเลือกสีพื้นหลังได้อีกด้วย

แอปพลิเคชันนี้เริ่มมีในปาล์มโอเอสรุ่นที่ 4.0 ยกเว้นเครื่องปาล์ม เอ็ม100 ที่ใช้ระบบปาล์มโอเอสรุ่นที่ 3.51

รายการสิ่งที่ต้องทำ (To Do List/Tasks)

เป็นแอปพลิเคชันง่ายๆที่ใช้ในการจดบันทึกสิ่งที่ต้องทำ มีการจัดแบ่งระดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ วันกำหนดส่ง และหมวดหมู่ อีกทั้งยังสามารถแนบบันทึกไว้ได้อีกด้วย ในการจัดเรียงรายการสิ่งที่ต้องทำสามารถจัดเรียงได้โดยเรียงจากวันที่กำหนด ความสำคัญ หรือหมวดหมู่

ตั้งแต่ปาล์มโอเอสรุ่น 5.2.1 ในเครื่องทังสเตน ที3 และทังสเตน อี ปาล์มอิงค์ได้ออกรุ่นดัดแปลงของแอปพลิเคชันนี้ออกมาซึ่งเพิ่มความสามารถในการตั้งปลุกเตือนและสามารถตั้งให้ทวนรายการสิ่งที่ต้องทำซ้ำได้

ปาล์มโฟโต้ (Palm photo) /มีเดีย (Media)

ปาล์มไพล็อตในช่วงแรกนั้นไม่ได้มีแอปพลิเคชันในการเปิดรูปภาพ จนใน ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) ได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชันนี้ขึ้นมา โดยมีชื่อว่าอิมเมจวิวเวอร์ 3(Image Viewer III) และหลังจากนั้นจึงมีแอปพลิเคชันในการเรียกดูรูปภาพสำหรับปาล์มออกมามากมาย

ในค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) ปาล์มรุ่นใหม่ทั้งหมดได้มีการบรรจุแอปพลิเคชันปาล์มโฟโต้ซึ่งใช้ในการสร้างอัลบั้มดิจิตอลเพื่อเรียกดูบนปาล์ม เช่นเดียวกับแอปพลิเคชันด้านรูปภาพอื่นๆ ภาพสามารถส่งโดยใช้อินฟราเรด บลูทูธ ไปยังอุปกรณ์มือถืออื่นๆได้ หรือแนบกับอีเมล ที่ส่งจากปาล์มได้ แอปพลิเคชันนี้สามารถแสดงภาพได้ทั้งแบบสไลด์และแบบเต็มหน้าจอได้

การแก้ไขภาพสามารถทำได้โดยแอปพลิเคชันปาล์มโฟโต้ที่อยู่บนระบบวินโดวส์ และเมื่อแก้ไขแล้วการแก้ไขก็จะส่งผลมาที่แอปพลิเคชันบนเครื่องปาล์มเมื่อมีการโอนถ่ายข้อมูล

แอปพลิเคชันปาล์มโฟโต้มีการบรรจุอยู่ในเครื่อง ไซร์ 71, ทังสเตน ซี, ทังสเตน อี, ทังสเตน ที2, ทังสเตน ที3 และอื่นๆอีกเล็กน้อย ส่วนปาล์ม แซด22 ใช้แอปพลิเคชัน สแปลชโฟโต้ (SplashPhoto)รุ่นไลต์ ซึ่งไม่มีคุณสมบัติครบทั้งหมดของแอปพลิเคชัน หลังจากปาล์มโอเอส รุ่น 5.2.8 ตั้งแต่ปาล์ม ไซร์ 72 แอปพลิเคชันปาล์มโฟโต้ได้ถูกแทนที่ด้วยแอปพลิเคชัน มีเดีย ซึ่งสามารถจัดการและแสดงได้ทั้งภาพและวิดีโอ

การอัดเสียง (Voice recording)

เครื่องปาล์มบางรุ่นสามารถอัดเสียงได้ โดยเครื่องปาล์มรุ่นปัจจุบันที่สามารถอัดเสียงได้ประกอบด้วย ทรีโอ 700พี, ไลฟ์ไดร์ฟ, ทังสเตน ที2 ที3 และไซร์72

การตั้งค่าการทำงาน (Preferences)

แอปพลิเคชันนี้ใช้ในการเรียกที่ใช้ในการปรับตั้งค่าในส่วนต่างๆของเครื่อง ซึ่งมีประมาณ 15 หัวข้อการปรับแต่ง ตัวอย่างหัวข้อการปรับแต่ง เช่น การอ่านตัวอักษร(กราฟิตี) เสียง เมนูลัด การตั้งค่าด้านเครือข่าย และเวลาของระบบ