ปืนใหญ่จู่โจม
ปืนใหญ่จู่โจม

ปืนใหญ่จู่โจม

ปืนใหญ่จู่โจม เป็นรูปแบบหนึ่งของปืนใหญ่อัตตาจร[1] ซึ่งถูกใช้ในฐานะที่เป็นปืนใหญ่สนับสนุนทหารราบที่ถูกติดตั้งบนโครงสร้างรถยานยนต์ โดยทั่วไปแล้วจะเรียกได้ว่า ยานเกราะรบ[2] ปืนใหญ่จู่โจ่มได้รับการออกแบบมาเพื่อให้การยิงสนับสนุนแบบโดยตรงสำหรับการโจมตีของทหารราบโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ได้เข้าปะทะกับตำแหน่งทหารราบหรือป้อมปราการฝ่ายข้าศึก[3] คำศัพท์นี้ได้แปลตามตัวอักษรของภาษาเยอรมันด้วยคำว่า "ชตวร์มเกอชึทซ์" ซึ่งได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้เป็นปืนจู่โจมที่ถูกสร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์นี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ชตูก 3 ในปี ค.ศ. 1940[3]ในประวัติศาสตร์ แนวคิดของปืนจู่โจมซึ่งมีความคล้ายคลึงอย่างมากกับรถถังทหารราบ ซึ่งทั้งสองแบบต่างก็เป็นยานพาหนะรบที่มีเป้าหมายที่จะไปพร้อมกับกองกำลังทหารราบในการเข้าสู่สนามรบ[4] อย่างไรก็ตามในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปืนจู่โจมนั้นมีความคล่องตัวกว่ารถถังและสามารถใช้งานเป็นปืนใหญ่ทั้งทางตรงและทางอ้อม[4] แม้ว่าพวกเขาจะสามารถประเมินพลังการยิงของรถถังได้ แต่ปืนจู่โจมส่วนใหญ่จะยิงด้วยกระสุนระเบิดแรงสูงที่มีความเร็วค่อนข้างต่ำ ซึ่งเหมาะสำหรับบทบาทของพวกมันในการจัดการกับจุดที่แข็ง เช่น ตำแหน่งป้อมปราการและอาคารบ้านเรือน[4] อย่างไรก็ตาม เมื่อความขัดแย้งได้คืบหน้า การเพิ่มจำนวนรถถังในสนามรบได้บังคับทำให้เกืดหน่วยปืนจู่โจ่มจำนวนมากซึ่งได้หุ้มเกราะในการปกป้องทหารราบและนำไปสู่กองทัพที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบที่มีความเอนกประสงค์ที่รวมบทบาทแยกจากแบบดั้งเดิมของปืนจู่โจ่มและรถถังพิฆาต[5]ปืนใหญ่จู่โจมของเยอรมันและโซเวียตต่างได้ถูกนำเสนอในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มักจะถือว่าพวกมันเป็นอาวุธหลักในป้อมปราการที่ล้อมรอบได้อย่างเต็มรูปแบบซึ่งถูกนำมาใช้แทนที่ป้อมปืน[6] แม้ว่าสิ่งเหลานี้จะมีการระดมยิงที่จำกัดและการเคลื่อนที่ของอาวุธ ซึ่งยังมีข้อดีคือการลดแรงงานและทำให้เกิดกระบวนการผลิตที่ง่ายมากขึ้น[6] สหรัฐอเมริกาไม่เคยพัฒนาปืนจู่โจ่มที่ถูกสร้างโดยเฉพาะในช่วงยามสงคราม แม้ว่าจะทำการดัดแปลงยานเกราะรบที่มีอยู่แล้วสำหรับบทบาทนั้น รวมทั้งเอ็ม 4 เชอร์แมน และเอ็ม 5 สจวต และรถกึ่งสายพาน เอ็ม 3[7]แนวคิดปืนใหญ่จู่โจมซึ่งส่วนใหญ่ได้ถูกทิ้งในช่วงยุคหลังสงครามในความนิยมต่อรถถังหรือรถถังพิฆาตที่อเนกประสงค์ที่มาพร้อมกับกองกำลังทหารราบ ซึ่งยังสามารถให้การยิงสนับสนุนโดยตรงตามเท่าที่ต้องการได้ ในสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ ปืนจู่โจมได้เลิกที่จะจดจำว่ามันเป็นยานเกราะรบที่ซ่อนตัวในซอกหรือช่องในกำแพง ด้วยตัวอย่างของแต่ละคันที่ถูกจัดว่าเป็นปืนใหญ่ฮาวอิตเซอร์อัตตาจรหรือรถถัง[8] สหภาพโซเวียตยังคงระดมทุนในการพัฒนาปืนจู่โจมแบบใหม่ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1967 แม้ว่าจะมีการออกแบบที่เล็กน้อยในช่วงหลังสงครามก็ได้ถูกนำมาใช้จำนวนมาก[9] ในกองทัพโซเวียตและประเทศอื่นๆในยุโรปตะวันออก ปืนใหญ่จู่โจมแบบเดิมได้ถูกแทนที่ส่วนมากโดยรถถังพิฆาต เช่น เอสยู-100 ซึ่งสามารถให้การสนับสนุนแก่ทหารราบหรือยานเกราะ[8]

ใกล้เคียง

ปืนใหญ่จอมสลัด ปืนใหญ่ ปืนใหญ่ลำกล้อง ปืนใหญ่อัตตาจรซีซาร์ ปืนใหญ่อัตตาจร เอ็ม107 ปืนใหญ่อัตตาจรอาร์เชอร์ ปืนใหญ่อัตตาจร ปืนใหญ่จู่โจม ปืนใหญ่มังกรทอง ปืนใหญ่อากาศ เอ็ม 61