ประวัติ ของ ผู้ชนะสิบทิศ

ผู้ชนะสิบทิศ เป็นนิยายที่ยาขอบ หรือโชติ แพร่พันธุ์ พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ในครั้งแรกใช้ชื่อว่า "ยอดขุนพล" เริ่มเขียนใน พ.ศ. 2474 จบลงใน พ.ศ. 2475 ในหนังสือพิมพ์ "สุริยา" และเริ่มเขียน "ผู้ชนะสิบทิศ" ในหนังสือพิมพ์ "ประชาชาติ" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 จบภาคหนึ่งเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 ในตอน "ความรักครั้งแรก" รวมเล่มพิมพ์เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 ฉบับพิมพ์รวมเล่มใช้ชื่อ "ลูกร่วมนม" สร้างชื่อเสียงให้ยาขอบ[1] เขียนรวมทั้งหมด 3 ภาค เมื่อ พ.ศ. 2482 แต่ยังไม่จบ เนื่องจากขาดข้อมูลบางอย่างที่จะต้องใช้ประกอบการเขียน ในเนื้อเรื่องกล่าวถึงราชวงศ์ตองอูตอนต้น เริ่มตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าเมงจีโย ไปจนถึงพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ หรือ มังตราราชบุตร โดยคำว่าผู้ชนะสิบทิศนั้น มาจากคำที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึง พระเจ้าบุเรงนองว่าเป็น The Conqueror of Ten Directions แต่สำหรับชื่อนิยาย จากหนังสือประวัติยาขอบ อ้างอิงว่า มาลัย ชูพินิจ เป็นผู้ตั้งให้[ต้องการอ้างอิง]

ผู้ชนะสิบทิศได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งยุคของจอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นช่วงที่รัฐบาลไทยมีนโยบายสร้างสหรัฐไทยเดิม โดยการส่งทหารไทยเข้ารุกรานดินแดนพม่าของอังกฤษร่วมกับญี่ปุ่น มีการปลุกระดมชาตินิยม ปี พ.ศ. 2485 ทางรัฐบาลได้มีการเข้าควบคุมสื่อสิ่งพิมพ์ทุกอย่าง นิยายผู้ชนะสิบทิศได้ถูกพิจารณาว่ามีเนื้อหาที่ยกย่องศัตรูของชาติ มีการใช้เรื่องราวที่ในนิยายไม่ได้กล่าวไว้ เช่นเรื่องการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่งมาใช้การปลุกระดมชาตินิยม ทำให้นิยายผู้ชนะสิบทิศในสมัยนั้นถูกสั่งห้ามพิมพ์จำหน่ายหรือมีไว้ครอบครองอย่างเด็ดขาด[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะสิบทิศ (เพลง) ผู้ชนะย่อมไม่เสพยา ผู้ชนะเลิศดับเบิลยูดับเบิลยูอี ผู้นำฝ่ายอักษะระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ผู้ผนึกมาร ผู้นำฝ่ายมหาอำนาจกลางระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ผู้ชาย