รูปแบบการบริหาร ของ ผู้บริหาร

รูปแบบการบริหารการกระจายอำนาจ

รูปแบบการบริหารการกระจายอำนาจ หมายถึง รูปแบบโครงสร้างเครือข่ายของการบริหาร เป็นการแบ่งอำนาจหน้าที่ในการบริหารรูปแบบโครงสร้างของการบริหาร เป็นการแบ่งอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานให้เป็นระบบ มีลักษณะเป็นขั้นตอนเพื่อให้เกิดดุลยภาพและทักษะขบวนการในหลายด้านอาทิเช่น ด้านวิชาการ ด้านความรู้ ความสามารถการรลงมือปฏิบัติงาน และการติดตามประเมินผลงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

หลักการบริหารแบบกระจายอำนาจ มีจุดเน้นที่สำคัญในการพัฒนา ดังนี้

  1. ความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้
  2. วิเคราะเหตุและปัจจัย เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง
  3. เน้นการสร้างสมดุล เพื่อให้เกิดผลลัพในระยะสั้นและระยะยาว
  4. การสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยการสร้างเครือข่ายและขยายกิจกรรมให้หลากหลาย
  5. เน้นการมีความรู้และคุณธรรม แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องโดยยึดหลักธรรมาธิบาล
  6. การสร้างค่านิยมให้รู้จักความรับผิดชอบ การพึ่งพาตนเองและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม[10]

รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม

รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม หมายถึง การที่บุคลากรในองค์กรหรือต่างองค์กรได้ทำงานร่วมกันเพื่อจัดการงานให้บรรลุเป้าหมายให้ประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพที่ดี มีความสามัคคี และมีระเบียบวินัยในการทำงานร่วมกับบุคคลอื่นซึ่งทำให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด

ความสำคัญของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม

  1. ทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกันของบุคลากรใรหน่วยงานหรือหน่วยงานอื่น
  2. กระบวนการตัดสินใจมีความรอบครอบและมีความหลากหลายในการเลือกที่จะทำสิ่งนั้นๆ
  3. เป็นหลักการที่ส่งผลให้กับการดำเนินงานด้านการวิเคราะห์ มีความเปิดกว้าง ระดมปัญญา ซึ่งส่งผลให้เกิดการตัดสินใจที่แน่นอน
  4. เพิ่มความสามัคคีระหว่างองค์กรและนอกองค์กรและขจัดการขัดแย้งระหว่างในและนอกองค์กร[11]

รูปแบบการบริหารสถานศึกษา

รูปแบบการบริหารสถานศึกษา นั้นเป็นรูปแบบการบริหารขนาดใหญ่มีการร่วมงานหลายองค์กร ซึ่งเป็นการบริหารแบบกระจายอำนาจ ซึ่งมีหน่วยงานหลักส่งคำสั่งไปยังหน่วยงานย่อย และหน่วยงานหลักต้องส่งทรัพยากรไปยังหน่วยงานย่อยเพื่อนำไปพัฒนาสถานที่ และพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อหน่วยงานนั้นมีคุณภาพที่สูงขึ้น ซึ่งหน่วยงานย่อยนั้นต้องส่งรายงาน แบบสำรวจ ผลงาน แบบแผน และระบบของหน่วยงานให้กับหน่วยงานหลัก[12]

รูปแบบการบริหารการจัดการ

รูปแบบการบริหารการจัดการ คือ รูปแบบการจัดแจงการทำงาน การปกครอง ทรัพยากรวัสดุ และทรัพยากรบุคคล เพื่อให้มีแบบแผนมีรูปแบบที่แน่นอนและง่ายต่อการปฏิบัติงาน ทำให้หน่วยงานนั้นมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูง รูปแบบการบริหารการจัดการจึงเป็นรูปแบบที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อหน่วยงานหรือองค์กร[13]

การบริหารจัดการ หมายถึง แนวทางหรือวิธีการดำเนินงานใดๆของหน่วยงานและบุคลากรของหน่วยงานให้มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น โดยครอบคลุมทั้งการดำเนินการหรือการปฏิบัติงานเพื่อให้มีแนวโน้มการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น รวดเร็ว ประหยัด และเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด[14]

แนวคิดและความหมายของการบริหารจัดการ

ธงชัย สันติวงษ์ ในปีพ.ศ. 2543 กล่าวถึงลักษณะของงานบริหารจัดการไว้ 3 ด้านคือ

  1. ด้านที่เป็นผู้นำหรือหัวหน้างาน งานบริหารจัดการ หมายถึง ภาระหน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ปฏิบัติตนเป็นผู้นำภายในองค์การ
  2. ด้านของภาระกิจหรือสิ่งที่ต้องทำ งานบริหารจัดการ หมายถึง การจัดระเบียบทรัพยากรต่างๆในองค์การ และการประสานกิจกรรมต่างๆเข้าด้วยกัน
  3. ด้านของความรับผิดชอบ งานบริหารจัดการ หมายถึง การต้องทำงานต่างๆให้ประสบผลสำเร็จ และมีประสิทธิภาพโดยการอาศัยบุคคลประสานงานกัน [15]

รูปแบบการบริหารธุรกิจ

รูปแบบการบริหารธุรกิจ คือ การบริหารแบบเป็นองค์กรทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจัยสำคัญของธุรกิจนั้นคือทรัพยากรในด้านต่างๆซึ่งแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบดังนี้

  1. ธุรกิจเจ้าของคนเดียว เป็นการประกอบธุรกิจที่บุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการ การตัดสินใจต่างๆขึ้นอยู่กับเจ้าของบุคคลเพียงคนเดียว และบริหารธุรกิจด้วยตนเอง การประกอบธุรกิจแบบนี้จะใช้ต้นทุนต่ำ มีความคล่องตัว ไม่ยุ่งยาก มีวิธีการบริหารที่ง่าย
  2. ห้างหุ้นส่วน เป็นรูปแบบของการประกอบธุรกิจที่มีบุคคล 2 คนขึ้นไปและสามารถทำนิติกรรมตามกฎหมายได้ การประกอบธุรกิจแบบนี้ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญ การจัดหาเงินทุนได้ง่าย
  3. บริษัทจำกัด เป็นการประกอบการเป็นนิติบุคคล แสวงหากำไรจากกิจการ เช่นการถือหุ้นเป็นส่วนใหญ่
  4. สหกรณ์ มีคณะบุคคล 10 คนขึ้นไป มีความสนใจคล้ายคลึงกัน จดทะเบียนถูกต้องตามพรบ.
  5. รัฐวิสาหกิจ เป็นองค์กรของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของ ดำเนินการโดยทำร่วมกับเอกชนเป็นหุ้นส่วน [16]

รูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรมีดังนี้

  1. คนหรือบุคลากร เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จ เพราะคนนั้นเป็นตัวขับเคลื่อนการทำงานให้ตรงตามเป้าหมายที่กำหนด
  2. ทรัพยากร เป็นส่วนสำคัญในการผลิตสินค้าหรือบริการลูกค้า เช่น เครื่องจักร วัตถุดิบ เป็นต้น
  3. เงินทุน เป็นตัวสนับสนุนที่ให้ได้ซึ่งทรัพยากรในด้านต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก
  4. การบริหารจัดการ เพื่อให้การทำงานนั้นมีแบบแผนในการผลิต การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการแบ่งหน้าที่ของบุคลากรในการดำเนินงาน[17]

ใกล้เคียง

ผู้บริหาร ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง ผู้บริหารการธุรกิจขนาดเล็ก ผู้บริหารสูงสุด ผู้บริหารฝ่ายการตลาด ผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการแบบกลุ่มเมฆ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ผู้บริหาร http://www.novabizz.com/NovaAce/Relationship/%E0%B... http://www.prosofthrmi.com/ArticleInfo.aspx?Articl... http://money.sanook.com/78007/ http://www.academia.edu/5955389/%E0%B8%AB%E0%B8%99... http://personnel.obec.go.th/home/%E0%B8%A3%E0%B8%B... http://www.surat3.go.th/userfiles/file/downlaod/13... https://sites.google.com/site/krutanita/home/thurk... https://thammarak.wordpress.com/2009/06/25/hhhhhhh... https://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20... https://www.gotoknow.org/posts/259345