ประเภทผ้าซิ่น ของ ผ้าจกไทยวน

ของชาวไทย – ยวน ราชบุรี สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ซึ่งขึ้นอยู่กับโอกาส และลักษณะที่นำไปใช้ ซึ่งแบ่งได้ ดังนี้คือ

  1. ผ้าซิ่นตีนจก
  2. ซิ่นตา
  3. ซิ่นซิ่ว
  4. ซิ่นแล่
ผ้าซิ่นตีนจกผ้าซิ่นตีนจก คือซิ่นที่มีตีนประกอบด้วยส่วนที่เป็นผ้า ลวดลายทอด้วยวิธีจก หรือ ควักเส้นด้ายพิเศษมาผูกมัดขัดกับเส้นอื่นเป็นลวดลายแบบต่างๆ ซึ่งซิ่นตีนจกมีโครงสร้าง ประกอบด้วยผ้า 3 ส่วน คือ หัวซิ่น ตัวซิ่น และ ตีนซิ่น ซิ่นตีนจกที่พบในลักษณะการแต่งกายของสตรีชาวไท-ยวน ราชบุรี มี 3 ลักษณะ คือ
  1. ซิ่นตีนจก จกเฉพาะตีน ตัวซิ่นเป็นผ้าพื้นสีดำ หรือ สีคราม ซิ่นบางผืนมีตัวซิ่นทอด้วยวิธียกมุกหัวซิ่น ใช้ผ้าขาวผ้าแดงเย็บต่อกันแล้วจึงเย็บต่อกันกับตัวซิ่น
  2. ซิ่นตีนจก จกทั้งตัว ซึ่งลักษณะนี้จะมีตัวซิ่นและตีนซิ่นทอด้วยวิธีจก แต่ทอเป็นผ้าคนละชิ้น แล้วนำมาเย็บต่อเป็นผืนเดียวกัน ตัวซิ่นส่วนมากจะทอด้วยลายกูด ลายนก ลายมะลิเลื้อย เป็นลายพันรอบตัวซิ่นตีนซิ่นทอลายหลักทั้ง 9 ลาย หัวซิ่นมีลักษณะเดียวกับซิ่นตีนจกจึงถือได้ว่า ซิ่นชนิดนี้เป็นผลงานทางศิลปหัตถกรรมชั้นสูงของ ไท-ยวน ราชบุรี
  3. ซิ่นตีนจก ตัวยกมุกสลับมัดหมี่ ตีนซิ่นทอด้วยวิธีจกเหมือนตัวซิ่นตีนจกทั่วไป ตัวซิ่นทอด้วยวิธียกมุกสลับด้วยการทอแบบมัดหมี่ ถือได้ว่าเป็นเทคนิคของภาคอีสาน ตัวซิ่นใช้เส้นใยประเภทไหม เป็นวัสดุทอ พบไม่มากในผ้าซิ่นตีนจกของไท-ยวน ราชบุรี
ซิ่นตาถือได้ว่าเป็นศิลปะการทอรองจากซิ่นตีนจก ซึ่งมี 2 ชนิด คือ
  1. ซิ่นตาผ้าพื้น เป็นการทอแถบสีต่างๆพันรอบตัว เช่น สีดำ,สีเหลือง,สีเขียว ส่วนตีนซิ่นจะมีเล็บเหลือบ และ แถบผ้าเป็นสีดำ
  2. ซิ่นตาหมู่ แตกต่างจากชนิดแรก ตรงที่ส่วนตัวซิ่นมีการจกลายประกอบเป็นหมู่ๆ พันรอบตัวซิ่นเว้นระยะเป็นช่วงๆ ส่วนมากจะใช้ลายหักขอเหลียว มะลิเลื้อย ดอกจัน ในการทำลายจกเป็นซิ่นที่มีศิลปะการทอสูงรองมาจากซิ่นตีนจก ปัจจุบันจะทอซิ่นตาหมู่ที่มีลายประกอบไม่มากและเป็นลายที่ทอง่าย ๆ
ซิ่นซิ่วเป็นซิ่นที่ทอสำหรับนุ่งทำงานอยู่กับบ้าน ตีนซิ่นเป็นผ้าพื้นสีดำ ตัวซิ่นเป็นพื้นสีเขียว จะจกลายประกอบระหว่างรอยต่อตีนกับตัว และตัวกับหัวซิ่นซิ่นแล่เป็นซิ่นที่ทอสำหรับนุ่งทำงานอยู่กับบ้าน หรือนอกบ้าน เป็นซิ่นที่ถือว่าทำการทอไม่ยาก และโดยส่วนมาก ผู้หญิง ไท- ยวน ในสมัยก่อนจะมีซิ่นแล่ไว้นุ่งกันทุกคน