ผ้าจกไทยราชบุรี ของ ผ้าจกไทยวน

ผ้าจกตระกูลคูบัวเป็นผ้าจกที่มีลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง เช่น ลายดอกเซีย ลายหักนกคู่ ลายโก้งเก้ง ลายหน้าหมอน และลายนกคู่กินน้ำฮ่วมเต้า ผ้าจกตระกูลคูบัวจะพบมากใน ตำบลคูบัว ตำบลดอนตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เพราะมีชุมชนไท-ยวนอาศัยอยู่ โดยในการจกจะใช้เส้นด้ายยืนสีดำ พุ่งดำ โดยไม่มีลายประกอบมากลาย พื้นผ้าเว้นพื้นต่ำไว้มากตามแบบของลวดลาย เพื่อจกให้เห็นลายชัดเจน ส่วนสีสันของเส้นใยที่ใช้ทอ จะใช้เส้นใยที่มีสีสันหลากหลาย เช่น จะใช้พุ่งต่ำดำจกแดง แซมเหลืองหรือเขียว เป็นต้น โดยตีนซิ่นจะมีความกว้างประมาณ 9-11 นิ้วผ้าจกตระกูลหนองโพ-บางกะโดเป็นผ้าจกที่มีลวดลายขนาดและสีสันที่มีความใกล้เคียงกับจกตระกูลคูบัว เป็นผ้าจกที่ได้จากชุมชนไท-ยวน ในตำบลหนองโพ-บางกะโด อำเภอโพธาราม โดยผ้าจกตระกูลหนองโพ-บางกะโด จะมีความแตกต่างจากผ้าจกตระกูลคูบัวตรงที่ ชายของตีนซิ่น ซึ่งผ้าจกตระกูลหนองโพ-บางกะโด จะมีการเว้นพื้นที่ต่ำระหว่างลายซะเปา ถึงเล็บเหลืองไว้กว้างมากกว่าผ้าจกตระกูลคูบัว และผ้าจกตระกูลหนองโพ-บางกะโดจะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับลายนกของผ้าไท-พวนในภาคเหนือ คือ ลักษณะของนกคู่กินฮ่วมเต้าของผ้าจกตระกูลหนองโพ-บางกะโด จะมีหางที่ยาวมากกว่าผ้าจกตระกูลคูบัวผ้าจกตระกูลดอนแร่เป็นผ้าจกที่มีลายที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง เช่น ลายกาบ ลายกาบดอกแก้ว และลายนกคู่กินน้ำฮ่วมเต้า พบมาในชุมชนไท-ยวน ตำบลดอนแร่ ตำบลห้วยไผ่ ตำบลหนองปลาหมอและตำบลรางบัว โดยลักษณะของการจก จะประกอบด้วยหลากหลายของลวดลาย และจะมีการจกลายแน่นเต็มผืนผ้า มีการเว้ยพื้นต่ำไว้น้อย ทำให้ลดความเด่นชัดของลายหลักลงไป โดยจะคงสีสันของเส้นใยเป็นสีแดงเป็นหลัก จะไม่นิยมใช้เส้นใยหลายสี และตีนจกจะมีความกว้างประมาณ 14-15 นิ้ว