ผลกระทบต่อสุขภาพ ของ ฝุ่นควันในภาคเหนือของประเทศไทย

ปัญหาฝุ่นควันทำให้คนที่อยู่ในที่โล่งนาน ๆ มีอาการแสบตา ตาแดง น้ำตาไหล คอแห้ง ระคายคอ หายใจติดขัด เหนื่อยง่าย และแน่นหน้าอก ผลวิจัยการหาความสัมพันธ์ของฝุ่นละออง กับอัตราการป่วยและเสียชีวิตของประชาชนในเชียงใหม่และลำพูน โดยคณะวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมี ผศ.ดร.มงคล รายะนาคร เป็นหัวหน้าโครงการ พบค่าเฉลี่ยรายวันของฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน ในเชียงใหม่สูงกว่ามาตรฐานของสหรัฐอเมริกา 3-6 เท่า ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจในเชียงใหม่ เพิ่มขึ้นทุกปี และอัตราผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอดต่อประชากรแสนคนสูงกว่ากรุงเทพมหานครและสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทย โดยพบผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.6 ผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด อัตราต่อแสนประชากรเพิ่มจาก 9 คน ในปี 2545 เพิ่มเป็น 58.12 คน ในปี 2548 ฝุ่นขนาดเล็กจะทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นที่โรงพยาบาลสารภี เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่พบปริมาณฝุ่นละอองสูงที่สุดในเชียงใหม่[1]

ใกล้เคียง

ฝุ่นควัน ฝุ่นควันในภาคเหนือของประเทศไทย ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฝุ่นคอสมิก ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2562 ฝุ่นคันทอร์ ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค.ศ. 2013 ฝุ่น ฝุ่นละออง ฝุ่นจักรราศีนอกระบบ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฝุ่นควันในภาคเหนือของประเทศไทย http://www.nationchannel.com/main/news/social/2012... http://www.komchadluek.net/detail/20120316/125540/... http://www.en.mahidol.ac.th/thai/news/2007/03/13_1... http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsI... http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsI... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1... http://aqnis.pcd.go.th/webfm_send/1482 http://aqnis.pcd.go.th/webfm_send/1486 http://aqnis.pcd.go.th/webfm_send/1500 http://aqnis.pcd.go.th/webfm_send/1501