เบื้องหลังและสาเหตุ ของ ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้_พ.ศ._2562

จุดความร้อนส่วนใหญ่สำหรับประเทศทางเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และฟิลิปปินส์) เกิดตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2562 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเดือนมีนาคมและเมษายน[4] เกิดอัคคีภัยในพื้นที่ป่าในภาคเหนือของประเทศไทย และพื้นที่เกษตรในป่าพรุควนเคร็งในจังหวัดนครศรีธรรมราชในภาคใต้ของประเทศ[5][6]

ฝุ่นควันข้ามพรมแดนในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์เกิดขึ้นแทบทุกปีอันเนื่องจากไฟป่าในอินโดนีเซีย ซึ่งมีการเผาป่าเพื่อถางพื้นที่สำหรับไร่ใหญ่น้ำมันปาล์ม และผู้รับจ้างช่วงรายย่อยเป็นผู้เริ่มจุดไฟโดยตรง[7] ในปี 2562 มีไฟป่าในเกาะสุมาตราและบอร์เนียวในอินโดนีเซีย[8] ทั้งสองเกาะมีพื้นที่พรุกว้างใหญ่ ซึ่งเผาไหม้ได้ง่ายระหว่างฤดูแล้ง พีต ซึ่งประกอบขึ้นจากชั้นพืชและสารอินทรีย์อื่นที่ตายแล้ว ทำให้เกิดการปล่อยคาร์บอนมากเพราะสารมีความหนาแน่นสูงและปริมาณคาร์บอนสูง[9]

จากข้อมูลของศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษอาเซียน จุดความร้อนส่วนใหญ่สำหรับอินโดนีเซียและมาเลเซียเกิดในเดือนสิงหาคมและกันยายน 2562[10] ณ เดือนกันยายน 2562 ประเทศอินโดนีเซียมีจุดความร้อนรวมกว่า 20,000 จุดในปี 2562 ส่วนประเทศมาเลเซียมีจุดความร้อนกว่า 2,000 จุด[11]

ใกล้เคียง

ฝุ่นควัน ฝุ่นควันในภาคเหนือของประเทศไทย ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2562 ฝุ่นคอสมิก ฝุ่นคันทอร์ ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค.ศ. 2013 ฝุ่น ฝุ่นละออง ฝุ่นจักรราศีนอกระบบ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้_พ.ศ._2562 http://www.khaosodenglish.com/featured/2019/08/22/... http://asmc.asean.org/asmc-haze-hotspot-annual-new... http://asmc.asean.org/asmc-haze-hotspot-monthly-ne... https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E... https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/indonesi... https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/north-ch... https://www.theguardian.com/environment/2015/nov/0... https://www.downtoearth.org.in/news/air/southeast-... https://www.thestar.com.my/news/regional/2019/09/1... https://www.iucn.org/resources/issues-briefs/peatl...