การใช้ประโยชน์ ของ ฝ้าย

การเก็บฝ้ายในประเทศไทยนิยมเก็บด้วยมือ โดยเลือกผลฝ้ายที่แก่และแตกแล้ว จากนั้นดึงเส้นใย (ส่วนของ epidermal cell) ออกจากสมอ แล้วส่งไปโรงงานเพื่อแยกเมล็ดออก กระบวนการแยกเส้นใยออกจากเมล็ดฝ้าย เรียกว่า "หีบฝ้าย" ส่วนของเส้นใยจะถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณต์ต่าง ๆ ขณะที่ส่วนเมล็ดฝ้ายซึ่งมีน้ำมันเป็นองค์ประกอบจะถูกนำไปสกัดเป็นน้ำมันเมล็ดฝ้าย เมื่อเทียบปริมาณ ฝ้าย 10 กิโลกรัมจะสามารถให้เส้นใยประมาณ 3.5 กิโลกรัม และน้ำมันประมาณ 1 กิโลกรัม[16] กล่าวโดยสรุปคือ

1) ปุยฝ้าย (Lint or Fibre)
1.1) ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม
1.2) เครื่องใช้ภายในบ้าน
1.3) วัตถุทางอุตสาหกรรม ยางรถยนต์ เบาะที่นั่ง เชือก ถุง สายพาน ผ้าใบ ท่อส่งน้ำ และการผลิตเส้นใยเทียม หรือ เรยอง (rayon)

2) เมล็ดฝ้าย
ประกอบด้วย ขนปุยที่ติดกับเมล็ด (linter or fuzz) เปลือกเมล็ด (Seed coat) และเนื้อในเมล็ด (Kernel)
2.1) ขนปุย (linter or fuzz) : นำไปใช้ทำผ้าซึมซับ ทำเบาะผ้าสักหลาด พรม วัตถุระเบิด และอุตสาหกรรม เซลลูโลส เช่น ทำเส้นใยประดิษฐ์ ฟิล์มเอ๊กซเรย์ พลาสติก
2.2) เปลือกเมล็ด (Seed Coat) : นำไปใช้ทำเป็นส่วนประกอบของอาหารสัตว์ ทำปุ๋ยอินทรีย์ ทำยางเทียม และเป็นส่วนประกอบในการเจาะและกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง
2.3) เนื้อในเมล็ด (Kernel) : ทำเนยเทียม ใช้เป็นตัวทำละลาย (Solvent or emulsifier) ทำยารักษาโรค สารปราบโรคและแมลงศัตรูพืช เครื่องสำอาง ยางพลาสติก เครื่องหนังกระดาษและอุตสาหกรรมสิ่งทอ กากที่เหลือหลังจากสกัดเอาน้ำมันออกแล้ว มีปริมาณโปรตีนสูง นำไปทำเป็นอาหารสัตว์ เป็นปุ๋ย และมีการนำไปทำอาหารมนุษย์ เช่น ผสมทำขนมปัง ผสมอาหารพวกที่มีเนื้อ เช่น ไส้กรอก [17]

ใกล้เคียง

ฝ้าย ฝ้ายแกมแพร ฝ้ายคำ ฝ่ายข่าว ช่อง 3 เอชดี ฝ่ายอักษะ ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ฝ่ายค้าน ฝ่ายบริหารกลางทิเบต