ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ ฝ้าย

ฝ้ายจัดเป็นไม้ต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่มขนาดกลาง แต่ในทางการเกษตร จะจัดเป็นประเภทพืชล้มลุก เนื่องจากต้นฝ้ายที่มีอายุ 2-3 ปี มักให้ผลผลิตน้อยทำให้ต้องทำการเพาะปลูใหม่ทุกปี เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ สูงประมาณ 2-5 ฟุต แตกกิ่งเวียนรอบต้น มักมีขนสั้นปกคลุมบาง ๆ ที่ลำต้น [4] ใบ เกิดที่ข้อของลำต้น ก้านใบยาวเท่ากับความกว้างของใบ[5] แต่สั้นกว่าแผ่นใบ ใบเดี่ยว หยักเป็น 3, 5 หรือ 7 พู พูรูปไข่ถึงรูปใบหอก[6] มักมีขนสั้นคลุมบาง ๆ ที่ก้านใบและใต้ใบ[7] หูใบยาว 1-5 เซนติเมตร รูปกึ่งสามเหลี่ยม[8] ดอก ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ[9] ดอกอ่อน หรือเรียกว่า "ปี้" (bud or aquare) ถูกหุ้มด้วยใบเลี้ยง 3 ใบ ประกบเป็นสามเหลี่ยม ดอกบานกว้างประมาณ 3 นิ้ว มี 5 กลีบดอก เรียงซ้อนกัน สีขาวนวลถึงเหลือง ตอนบ่ายดอกจะกลายเป็นสีชมพูจนถึงแดงและค่อย ๆหุบ[10] ดอกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงหลังจากบานประมาณ 2-3 วัน[11] ก้านเกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 2-5 เซนติเมตร ก้านเกสรเพศเพศเมียสอดอยู่ในหลอดก้านเกสรเพศผู้ [12] รังไข่มี 3-4 ห้อง หรือ 4-5 ห้อง แล้วแต่ชนิด (species) [13] ผล ผลแห้งแตก รูปไข่แคบๆ ปลายแคบแหลม เกลี้ยง[14] ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ภายในแบ่งออกเป็นช่องเท่ากับจำนวนช่องในรังไข่ ผลฝ้าย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สมอฝ้าย" สมอฝ้ายจะปริออกเมื่อแก่ และดันเมล็ดซึ่งห่อหุ้มด้วยปุยเส้นใยสีขาว (lint) และเส้นใยสั้น (fuzz fibers) ออกมา[15]

ใกล้เคียง

ฝ้าย ฝ้ายแกมแพร ฝ้ายคำ ฝ่ายข่าว ช่อง 3 เอชดี ฝ่ายอักษะ ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ฝ่ายค้าน ฝ่ายบริหารกลางทิเบต