พญาผายู

พญาผายู (คำเมือง: ) เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา ปกครองในปี พ.ศ. 1879 - 1898[1] รวมการครองราชย์ 19 ปี ทรงเป็นพระราชโอรสในพญาคำฟู พระนามว่า เจ้าผายู ทรงสืบราชบัลลังจากพญาคำฟูซึ่งเป็นพระราชบิดา ภายหลังพญาคำฟูเสด็จสวรรคตจากการถูกเงือกหรือจระเข้กัดตามตำนานสิบห้าราชวงศ์ได้กล่าวถึงการขึ้นครองราชของพญาผายูไว้ว่า "เมื่อนั้นเจ้าพ่อท้าวผายูอายุได้ 28 ปี เสนาอามาตรย์ทังหลาย ก็หื้ออภิเษกหื้อเป็นพระญาในเมืองเชียงใหม่ ในปีดับเล้า ศักราชได้ 707 ตัว "[2] เมื่อทรงครองราชย์แล้ว พระองค์ทรงย้ายราชธานีจากนครเชียงแสนที่พระราชบิดาย้ายไป กลับมายังนครเชียงใหม่อีกครั้งในพงศาวดารลาวกล่าวว่า ช่วงที่พระองค์ทรงประทับอยู่ที่เมืองเชียงแสนได้มีการรุกรานจากทัพล้านช้างของพระเจ้าฟ้างุ้ม พระองค์ทรงจัดกองทัพออกไปต่อสู้ ทำให้แม่ทัพเมืองเชียงแสนคือ พระยาแสนเมือง ตายคาคอช้าง กองทัพเมืองเชียงแสนจึงแตก กองทัพลาวล้านช้างไล่ตีถึงเมืองแพวเมืองเล็ม เมืองไร่ บ้านยู เมืองยวง เมืองพวง หัวฝาย จนถึงเมืองเชียงแข็ง พญาผายู เห็นทีว่าจะรับศึกไม่ไหว จึงแต่งพระราชสารออกมาไปขออ่อนน้อม โดยยกเมืองเชียงแสนและเชียงใหม่ให้เป็นรัฐส่วย ขอส่งส่วยข้าวเปลือกปีละ ๑,๐๐๐ หาบ พร้อมสิ่งบรรณาการไปถวายเป็นอันมาก เช่นทองคำสองหมื่น เงินสองแสน แหวนกลมลูกหนึ่งชื่อว่ายอดเชียงแสน แก้วไพฑูรย์ลูกหนึ่งชื่อว่ามณีฟ้าร่วง นอกจากนี้ยังได้ส่งบรรณาการอื่น ๆ ไปให้พวกแม่ทัพนายกองของล้านช้างเป็นอันมาก[3] อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในการศึกครั้งนี้ไม่ปรากฏเอกสารหลักฐานในฝ่ายล้านนาเลย ในพงศาวดารลาวฉบับเดียวกันระบุว่ากษัตริย์เชียงใหม่ชื่อพระเจ้าสามผยา และกล่าวว่าหมายถึงพญาผายู ซึ่งในความจริงแล้วพระเจ้าสามผยาเป็นชื่อของพญาสามฝั่งแกน ซึ่งมีอีกพระนามว่าพญาสามประหญาฝั่งแกน หรือพญาสามประหญาแม่ใน[4] เป็นคนละองค์กับพญาผายู อีกทั้งพญาผายูตลอดรัชกาลมิได้ประทับที่เชียงแสน หากแต่มาประทับที่เชียงใหม่พญาผายูทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข พุทธศาสนารุ่งเรือง จนเสด็จสวรรคต พ.ศ. 1898 เมื่อพระชนมายุได้ 57 พรรษา เสนาอำมาตย์จึงพร้อมใจกันไปอัญเชิญเอาท้าวกือนา พระราชโอรสซึ่งไปครองเมืองเชียงแสนมาเป็นกษัตริย์สืบสันติวงศ์สืบต่อ

ใกล้เคียง