ประวัติ ของ พรรคความหวังใหม่

พรรคความหวังใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2533 [2] โดยทำการเปิดตัวที่โรงแรมเจบี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา[3] และมีที่ทำการพรรคแห่งแรกที่สำนักงานกฎหมายธรรมนิติในสังกัดของนายไพศาล พืชมงคล ที่เขตบางซื่อ[4] ในขั้นต้นมีนายวีระ สุวรรณกุล เป็นหัวหน้าพรรคคนแรกและมีนางสาวปราณี มีอุดร เป็นเลขาธิการพรรคคนแรกต่อมาในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2533 ได้มีการจัดประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกของพรรคที่ประชุมมีมติเลือก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีต ผู้บัญชาการทหารบก และอดีต ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าพรรค [5]

พรรคความหวังใหม่ ลงเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยมี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นหัวหน้าพรรค ร่วมด้วยนักการเมืองที่มีชื่อเสียงเช่น นายเสนาะ เทียนทอง นายจาตุรนต์ ฉายแสง และ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา มีสัญลักษณ์พรรคคือ ดอกทานตะวัน และมีคำขวัญพรรคว่า ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง ได้เป็นฝ่ายค้าน และหลังจากนั้นไม่นานก็เกิด เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และ พรรคความหวังใหม่ เป็นหนึ่งในบรรดา 4 พรรคการเมือง ที่เรียกกันในช่วงเวลานั้นว่า พรรคเทพ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ร่วมกันคัดค้าน การขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร

พรรคความหวังใหม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2539 ได้ที่นั่ง ส.ส. จำนวน 125 ที่นั่ง โดยเฉือนชนะ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคคู่แข่งสำคัญไปเพียง 2 ที่นั่ง ส่งผลให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี

พรรคความหวังใหม่ มีฐานเสียงส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชนบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอีสาน หลังจากพล.อ.ชวลิต ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี จากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำเป็นอย่างมากในปี พ.ศ. 2540 จากการประกาศลดค่าเงินบาท และทำให้ระหว่างปี พ.ศ. 2540-44 พรรคความหวังใหม่ต้องเปลี่ยนสถานะไปเป็น พรรคฝ่ายค้าน


๒๕๔๕ ความหวังใหม่ ยุบมารวมกับ พรรคไทยรักไทย ตาม ม.73 เมื่อ 22 มีนาคม 2545(สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรทั้งแบบเขต และบัญชีรายชื่อ ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย มีเพียง ชิงชัย มงคลธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรระบบบัญชีรายชื่อ ขออยู่ฟื้นฟู พรรคความหวังใหม่/ และ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรบัญชีรายชื่อ ขอไปฟื้นฟู พรรคมวลชน/ ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรบัญชีรายชื่อ ย้ายไปอยู่พรรคประชาธิปัตย์)ตามกรอบของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541[6]

ใกล้เคียง

พรรคความหวังใหม่ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย พรรคครูไทยเพื่อประชาชน พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา พรรคคอมมิวนิสต์จีน พรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น พรรคคอมมิวนิสต์ (พม่า) พรรคคอมมิวนิสต์มลายา พรรคคอมมิวนิสต์ฮังการี

แหล่งที่มา

WikiPedia: พรรคความหวังใหม่ http://www.tamsabye.com/index.php?name=news&file=r... http://archive.li/uMrWf http://www.komchadluek.net/e2548/reference/index.p... http://www.ect.go.th/newweb/upload/cms02/download/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2533/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2533/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2543/E/...