ประวัติ ของ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เดิมเรียก พรรคคอมมิวนิสต์สยาม เริ่มก่อตั้งโดยโฮจิมินห์ ชาวเวียดนาม ใช้นามแฝงว่า สหายซุง โดยประชุมครั้งแรกแบบลับๆ ที่ โรงแรมตุ้นกี่ หน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง เมื่อ 20 เมษายน พ.ศ. 2473 โดยแต่งตั้งหลี หรือ โงจิ๊งก๊วก เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก และมีตัวแทนสองคนคือ ตัง หรือ เจิ่นวันเจิ๋น และ เหล่าโหงว หรือ อู่จื้อจือ[2] จนก่อตั้งเป็นรูปร่างเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2485 หลังการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพมหานคร[3] โดยมีสมาชิกก่อตั้ง 57 คน พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเป็นพรรคแนวอุดมการณ์ ยึดมั่นในลัทธิมากซ์-เลนินและลัทธิเหมา โดยมีความมุ่งหมายเพื่อสร้างความเสมอภาคทางชนชั้น ชี้นำสังคมโดยพรรคคอมมิวนิสต์ และต่อสู้เอาชนะระบบทุนนิยมด้วยวิธี "ป่าล้อมเมือง"

ปัจจุบันพรรคคอมมิวนิสต์ยังมีอยู่และไม่ได้หายไปไหน แต่ไม่มีอำนาจเท่าอดีตแล้ว

วันเสียงปืนแตก

วันเสียงปืนแตก คือวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ซึ่งเป็นวันที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยใช้อาวุธโจมตีกองกำลังของรัฐบาลไทยเป็นครั้งแรก กองกำลังของพรรคได้เรียกตนเองว่า กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) [ในขณะที่รัฐบาลเรียกว่า ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.)] เหตุเกิดที่ บ้านนาบัว ตำบลโคกหินแฮ่ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ทั้งนี้ได้ประกาศยุทธศาสตร์ "ต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ ใช้ชนบทล้อมเมือง และยึดเมือง" หลังจากวันเสียงปืนแตก พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็ต่อสู้ด้วยอาวุธกับกองกำลังของรัฐบาลไทยมาตลอด และในยุค "แสวงหา" บรรดานักเรียนนักศึกษาประชาชนเข้าป่าเพื่อต่อสู้ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2523 รัฐบาลพลเอกเปรม ติณณสูลานนท์ได้ออกคำสั่ง 66/23 นิรโทษกรรมแก่ฝ่ายคอมมิวนิสต์และประกอบกับปัญหาแย่งชิงผลประโยชน์กันภายในพรรคจึงเป็นเหตุให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยสลายตัวในที่สุด

ใกล้เคียง

พรรคความหวังใหม่ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย พรรคครูไทยเพื่อประชาชน พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา พรรคคอมมิวนิสต์จีน พรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น พรรคคอมมิวนิสต์ (พม่า) พรรคคอมมิวนิสต์มลายา พรรคคอมมิวนิสต์ฮังการี